งานพิเศษ


รายงานผลการเลือกตั้งผลการเลือกตั้ง 3 ก.ค 2554
พรรคเพื่อไทย เป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 201 คน เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 61 คน รวม 262 คน
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 116 คน เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 44 คน รวม160 คน
พรรคภูมิใจไทย เป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 29 คน เป็นส.ส.บัญชีรายชื่อ 5 คน รวม 34 คน
พรรคชาติไทยพัฒนา เป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 15 คน เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน รวม 19 คน
พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดินเป็นส.ส.แบบแบ่งเขต7 คนเป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ2 คนรวม 9คน
พรรคพลังชล เป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 6 คน เป็น ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 7 คน
พรรครักประเทศไทย เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 คน(ไม่ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต) รวม 4 คน
พรรคมาตุภูมิ เป็นส.ส.แบบแบ่งเขต 1 คน เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน รวม 2 คน
พรรครักษ์สันติ เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน(ไม่ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต)รวม 1 คน
พรรคมหาชน เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน(ไม่ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต)รวม 1 คน
พรรคประชาธิปไตยใหม่เป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 คน (ไม่ได้ส.ส.แบบแบ่งเขต)รวม 1 คน

พรรคร่วมรัฐบาลมี 6 พรรคดังนี้
1.พรรคเพื่อไทยมี 265 ที่นั่ง
2.พรรคชาติไทยพัฒนา 19 ที่นั่ง
3.พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน 7 ที่นั่ง
4.พรรคพลังชล 7 ที่นั่ง
5.พรรคมหาชน 1 ที่นั่ง
6.พรรคประชาธิปไตยใหม่ 1 ที่นั่ง
รวม 300 ที่นั่ง

พรรคฝ่ายค้านมี 5 พรรคดังนี้
1.พรรคประชาธิปัตย์ 160 ที่นั่ง
2.พรรคภูมิใจไทย 34 ที่นั่ง
3.พรรครักประเทศไทย 4 ที่นั่ง 4.พรรคมาตุภูมิ 1 ที่นั่ง
5.พรรครักษ์สันติ 1 ที่นั่ง
รวม 200 ที่นั่ง


มรดกโลก
ไฟล์:World Heritage logo.png
สัญลักษณ์ขององค์การมรดกโลก
มรดกโลก ( World Heritage Site) คือสถานที่ อันได้แก่ ป่าไม้ ภูเขา ทะเลสาบ ทะเลทราย อนุสาวรีย์ สิ่งก่อสร้างต่างๆ รวมไปถึงเมือง ซึ่งคัดเลือกโดยองค์การยูเนสโกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 เพื่อเป็นการบ่งบอกถึงคุณค่าของสิ่งที่มนุษยชาติ หรือธรรมชาติได้สร้างขึ้นมา และควรจะปกป้องสิ่งเหล่านั้นได้อย่างไร เพื่อให้ได้ตกทอดไปถึงอนาคต


มรดกโลกสามารถแบ่งได้ 2 ประเภทคือ
1.มรดกทางวัฒนธรรม (Cultural Heritage) หมาย ถึง สถานที่ซึ่งเป็นโบราณสถานไม่ว่าจะเป็นงานด้านสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรม หรือแหล่งโบราณคดีทางธรรมชาติ เช่น ถ้ำ หรือกลุ่มสถานที่ก่อสร้างยกหรือเชื่อมต่อกันอันมีความเป็นเอกลักษณ์ หรือแหล่งสถานที่สำคัญอันอาจเป็นผลงานฝีมือมนุษย์หรือเป็นผลงานร่วมกัน ระหว่างธรรมชาติกับมนุษย์ รวมทั้งพื้นที่ที่เป็นแหล่งโบราณคดี ซึ่งสถานที่เหล่านี้มีคุณค่าความล้ำเลิศทางประวัติศาสตร์ ศิลปะ มนุษยวิทยา หรือวิทยาศาสตร์
2.มรดกทางธรรมชาติ(Natural Heritage) หมาย ถึง สภาพธรรมชาติที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพอันมีคุณค่าเด่นชัดในด้านความล้ำ เลิศทางวิทยาศาสตร์ หรือเป็นสถานที่ซึ่งมีสภาพทางธรณีวิทยาและภูมิประเทศที่ได้รับการวิเคราะห์ แล้วว่าเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของพันธุ์พืชและสัตว์ ซึ่งถูกคุกคาม หรือเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของพืชหรือสัตว์ที่หายาก เป็นต้น
ขั้นตอนการสมัครเป็นสมาชิกมรดกโลก
1. จะต้องจัดทำบัญชีรายชื่อสถานที่ที่มีความสำคัญทางธรรมชาติและวัฒนธรรมทั้ง หมดภายในประเทศของตน บัญชีนี้จะเรียกว่า บัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะมีเพียงสถานที่ที่มีชื่ออยู่ในบัญชีนี้เท่านั้นที่จะมีสิทธิได้รับการ เสนอชื่อ
2. ประเทศนั้นๆจะต้องเลือกรายชื่อสถานที่ที่ต้องการเสนอชื่อมาจากบัญชีรายชื่อ เบื้องต้น เพื่อจัดทำเป็นแฟ้มข้อมูล (Nomination File) โดยทางศูนย์มรดกโลกอาจให้คำแนะนำและช่วยเหลือในการจัดทำแฟ้มข้อมูลนี้ เมื่อ ถึงขั้นตอนนี้ แฟ้มข้อมูลจะถูกตรวจสอบและพิจารณาจากองค์กร 2 แห่ง ได้แก่ สภานานาชาติว่าด้วยการดูแลอนุสรณ์สถานและแหล่ง โบราณคดี (International Council on Monuments and Sites) และ สหภาพสากลเพื่อการอนุรักษ์ (World Conservation Union)
3. ทั้งสององค์กรนี้จะยื่นข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการมรดกโลก ทางคณะกรรมการจะมีการประชุมร่วมกันปีละหนึ่งครั้ง เพื่อตัดสินว่าสถานที่ที่มีการเสนอชื่อแห่งใดบ้างที่ควรได้ขึ้นทะเบียนเป็น มรดกโลก หรือทางคณะกรรมการอาจร้องขอให้ประเทศที่เสนอชื่อได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถาน ที่เพิ่มเติม
4.พิจารณาว่าจะขึ้นทะเบียนสถานที่แห่งใดจะต้องมีลักษณะตามเกณฑ์มาตรฐานข้อใดข้อหนึ่งหรือหลายข้อ

มรดกโลกที่ขึ้นบัญชีเอาไว้ในขณะนี้
ใน พ.ศ. 2553 มีมรดกโลกที่ขึ้นทะเบียนแล้วทั้งสิ้น 911 แห่ง แบ่งออกเป็นมรดกโลกทางวัฒนธรรม 704 แห่ง มรดกโลกทางธรรมชาติ 180 แห่ง และมรดกโลกแบบผสม 27 แห่ง ตั้งอยู่ใน151ประเทศ โดยอิตาลีเป็น ประเทศที่มีจำนวนมรดกโลกมากที่สุด คือ 44 แห่ง แม้ว่ายูเนสโกจะอ้างอิงถึงมรดกโลกแต่ละแห่งด้วยหมายเลข แต่การขึ้นทะเบียนในหลายครั้งก็จะผนวกเอามรดกโลกที่ได้ขึ้นทะเบียนไปแล้ว เข้าเป็นส่วนหนึ่งของมรดกโลกที่มีพื้นที่มากขึ้น ดังนั้นจึงมีหมายเลขมรดกโลกเกิน 1,200 ไปแล้วแม้ว่าจะมีจำนวนมรดกโลกน้อยกว่าก็ตาม

มรดกไทยที่ขึ้นบัญชีเป็นมรดกโลกแล้ว
อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย (ขึ้นทะเบียนเมื่อวันที่13 ธันวาคม 2534)
สาเหตุที่ได้รับ
-เป็นตัวแทนซึ่งแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันฉลาด
-เป็นสิ่งที่ยืนยันถึงหลักฐานของวัฒนธรรมหรืออารยธรรมที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันหรือว่าที่สาบสูญไปแล้ว
อุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย
-ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
-ได้รับพร้อมกับ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง (ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2534)
สาเหตุที่ได้รับ
-เป็น ตัวอย่างที่เด่นชัดในการเป็นตัวแทนของขบวนการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทางธรณี วิทยาหรือวิวัฒนาการทางชีววิทยา และปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ต่อสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติที่กำลังเกิดอยู่ เช่น ภูเขาไฟ เกษตรกรรมขั้นบันได
-เป็นแหล่งที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์หายากหรือสวยงามเป็นพิเศษ เช่น แม่น้ำ น้ำตก ภูเขา
-เป็น ถิ่นที่อยู่อาศัยของชนิดสัตว์และพันธุ์พืชที่หายากหรือที่ตกอยู่ในสภาวะ อันตราย แต่ยังคงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ ซึ่งรวมถึงระบบนิเวศอันเป็นแหล่งรวมความหนาแน่นของพืชและสัตว์ที่ทั่วโลกให้ ความสนใจด้วย
ป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ (ขึ้นทะเบียนเมื่อปี 2548)
สาเหตุที่ได้รับ
-เป็น ตัวอย่างอันโดดเด่นของประเภทของสิ่งก่อสร้างอันเป็นตัวแทนของการพัฒนา ทางด้านวัฒนธรรม สังคม ศิลปกรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรม ในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
สาเหตุที่ประเทศไทยลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกมรดกโลก
เมื่อเวลาประมาณ 23.45 น. วันที่ 25 มิถุนายน นายสุวิทย์ คุณกิตติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก แถลงที่กรุงปารีส ว่า ไทยได้ยื่นหนังสือลาออกจากการเป็นภาคีอนุสัญญามรดกโลกและกรรมการมรดกโลก หลังจากศูนย์มรดกโลกและยูเนสโกไม่ได้ฟังข้อทักท้วงของไทย ทั้งนี้ในร่างมติที่มีการเสนอให้มีการพิจารณา มีเรื่องการเลื่อนแผนบริหารจัดการของเขมรออกไป ซึ่งเป็นไปในแนวทางที่รัฐบาลต้องการ แต่ในร่างมติของยูเนสโกที่เสนอเข้ามา ยอมให้มีการเลื่อนการพิจารณาแผนบริหารจัดการของเขมรออกไปจริง แต่มีข้อความและข้อกำหนดที่อาจทำให้ไทยเสียเปรียบ
ทั้งนี้มีการเจรจาล็อบบี้กับสมาชิกมาตลอดตั้งแต่เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน มีการหารือกันมาตลอด แต่ก็เห็นได้ชัดว่ายูเนสโกพยายามผลักดันแผนตัวเอง ประเด็นสำคัญที่ฝ่ายไทยรับไม่ได้คือ แผนบูรณะตัวปราสาทพระวิหาร ซึ่งในแผนที่ยูเนสโกเสนอได้ระบุเรื่องการเข้ามาในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในอธิปไตยของไทย อยู่นอกเหนือจากตัวปราสาทพระวิหาร ขณะเดียวกันพื้นที่รอบตัวปราสาทกัมพูชาก็ได้ยึดครองบางส่วน เป็นพื้นที่ที่ยังไม่มีข้อยุติชัดเจนว่าแนวเขตแดนอยู่ตรงไหน
ก่อนหน้านี้ฝ่ายไทยยังได้นำโมเดลของทางทหารไปชี้แจง เพื่อให้เห็นสภาพที่เกิดขึ้นว่า ถ้าหากมีการขึ้นทะเบียนและรับรองแผนบริหารจัดการของกัมพูชาจะนำไปสู่ความขัด แย้งมากยิ่งขึ้น
นายสุวิทย์ยังย้ำว่า หากไทยลาออกจากคณะกรรมการมรดกโลกแล้ว ผลใดๆ ก็ตามที่เกิดขึ้นจากการกระทำของสมาชิกคณะกรรมการมรดกโลกก็จะไม่มีผลผูกพัน ต่อประเทศไทย หมายความว่า ทางคณะกรรมการมรดกโลกจะให้กัมพูชาเข้าดำเนินกิจกรรมใดๆ ที่เป็นการรุกล้ำเข้ามาในดินแดนของไทยไม่ได้เป็นอันขาด หากว่ามีการประกาศขึ้นทะเบียนพระวิหารเป็นมรดกโลก และยอมรับแผนการจัดการพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารของกัมพูชา บางส่วนที่รุกล้ำเข้ามาในฝ่ายไทยนั้น ต้องมีการขออนุญาตรัฐบาลไทยก่อน จะกระทำการใดๆ ไม่ได้ เนื่องจากไทยไม่ได้อยู่ภายใต้อำนาจของคณะกรรมการมรดกโลก และไม่มีผลผูกพันใดๆ
นายสุวิทย์ กล่าวอีกว่า การตัดสินใจลาออกในครั้งนี้ ได้ไตร่ตรองและผ่านการศึกษาอย่างรอบคอบ รวมถึงได้โทรศัพท์พูดคุยกับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี รับทราบการตัดสินใจและเห็นว่ารัฐบาลไทยไม่มีทางเลือกในการลาออกจากกรรมการ มรดกโลกครั้งนี้ ซึ่งจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าวันที่ 27 มิถุนายนนี้