1. สมัยสุโขทัย ( พ.ศ. 1792 - พ.ศ. 1981 )
ลักษณะการปกครองในสมัยสุโขทัย
การปกครองในสมัยสุโขทัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ
1.สมัยสุโขทัยตอนต้น เริ่มตั้งแต่สมัยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ไปถึงสิ้นสมัยของ
พ่อขุนรามคำแหง
2.สมัยสุโขทัยตอนปลาย ตั้งแต่สมัยพระยาเลอไทยไปถึงสมัยสุโขทัยหมดอำนาจ
ใน สมัยสุโขทัย การปกครองเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เนื่องจากอำนาจสูงสุดในการปกครองรวมอยู่ที่พ่อขุนพระองค์เดียว โดยพ่อขุนไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบต่อประชาชน ในสมัยสุโขทัยได้มีการจำลองลักษณะครอบครัวมาใช้ในการปกครอง ทำให้ลักษณะการใช้อำนาจของพ่อขุนเกือบทุกพระองค์ เป็นการใช้อำนาจแบบให้ความเมตตาและให้เสรีภาพแก่ราษฎรตามสมควร
ลักษณะทางการเมืองการปกครอง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนแห่งกรุงสุโขทัยทรงเป็นประมุขและทรงปกครองประชาชนในลักษณะ “บิดาปกครองบุตร” คือ ถือว่าพระองค์เป็นพ่อที่ให้สิทธิและเสรีภาพและมีความใกล้ชิดกับประชาชน มีหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกันภัยและส่งเสริมความสุขให้ประชาชน ประชาชนในฐานะที่เป็นบุตรมีหน้าที่ให้ความเคารพและเชื่อฟังพ่อขุน
พ่อ ขุนกับประชาชนในรูปแบบของการปกครองแบบบิดาปกครองบุตร ก่อให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน กล่าวคือ ประชาชนมีสิทธิถวายฎีกา หรือร้องทุกข์โดยตรงต่อพ่อขุน เช่น ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้มีกระดิ่งแขวนไว้ที่ประตูวัง ถ้าประชาชนต้องการถวายฎีกาก็จะไปสั่นกระดิ่ง พระองค์ก็จะเสด็จออกมาทรงชำระความให้
ใน การจัดการปกครองอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือเป็นเมืองหลวงอำนาจในการวินิจฉัยสั่งการจะอยู่ที่เมืองหลวง ซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์
พระ มหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยทรงดำเนินการปกครองประเทศด้วยพระองค์เอง โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เป็นผู้ช่วยเหลือ ในการปกครองต่างพระเนตรพระกรรณ และรับผิดชอบโดยตรงต่อพระองค์
อาณาจักร สุโขทัยได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ที่พระองค์ได้ทรงรวบรวมหัวเมืองน้อยใหญ่เข้ามาไว้ในปกครองมากมาย จึงยากที่จะปกครองหัวเมืองต่าง ๆ เหล่านั้นด้วยพระองค์เองได้อย่างทั่วถึง
การปกครองเมืองต่าง ๆ ในสมัยสุโขทัยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1. การปกครองส่วนกลางส่วนกลาง ได้แก่ เมืองหลวงและเมืองลูกหลวง
เมืองหลวง คือ สุโขทัย อยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวงทั้ง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครอง ซึ่งได้แก่
(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
ในสมัยสุโขทัยเรียกเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงรวมกันว่า ราชธานี
เมืองหลวง คือ สุโขทัย อยู่ในความปกครองของพระมหากษัตริย์โดยตรง
เมืองลูกหลวง เป็นเมืองหน้าด่านที่อยู่รายล้อมเมืองหลวงทั้ง 4 ทิศ เมืองเหล่านี้พระมหากษัตริย์ จะทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรสไปปกครอง ซึ่งได้แก่
(1) ทิศเหนือ เมืองศรีสัชนาลัย (สวรรคโลก)
(2) ทิศตะวันออก เมืองสองแคว (พิษณุโลก)
(3) ทิศใต้ เมืองสระหลวง (พิจิตร)
(4) ทิศตะวันตก เมืองกำแพงเพชร (ชากังราว)
ในสมัยสุโขทัยเรียกเมืองหลวงและเมืองลูกหลวงรวมกันว่า ราชธานี
2. การปกครองหัวเมืองหัวเมือง หมายถึง เมืองที่อยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง
ซึ่งมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ
2.1 หัวเมืองชั้นนอก
หัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง
2.1 หัวเมืองชั้นนอก
หัวเมืองชั้นนอกเป็นเมืองที่อยู่ห่างไกลกรุงสุโขทัย หรืออยู่รอบนอกอาณาเขตของเมืองหลวง
2.2 หัวเมืองประเทศราช
หัวเมืองประเทศราชเป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ
หัวเมืองประเทศราชเป็นเมืองภายนอกพระราชอาณาจักร เมืองเหล่านี้มีกษัตริย์ของตนเองปกครอง แต่ยอมรับในอำนาจของกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยเป็นเพียงเจ้าคุ้มครอง โดยหัวเมืองเหล่านี้จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวาย และส่งทหารมาช่วยรบเมื่อทางกรุงสุโขทัยมีคำสั่งไปร้องขอ
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง กรุงสุโขทัยมีหัวเมืองประเทศราชจำนวนมาก เช่น เมืองเซ่า น่าน เวียงจันทน์ นครศรีธรรมราช ยะโฮร์ หงสาวดี เป็นต้น
ในสมัยพ่อขุนรามคำแหง เมื่อ พ.ศ.1826 ได้ ทรงประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น โดยใช้อักษรมอญและอักษรขอม รวมทั้งอักษรไทยเก่าแก่บางอย่างเป็นตัวอย่าง ทำให้ชาติไทยมีอักษรไทยใช้เป็นวัฒนธรรมของเราเอง
ใน สมัยสุโขทัย นอกจากจะมีความสัมพันธ์อันดีกับเมืองอิสระทางเหนือแล้ว ยังมีการค้าขายติดต่อกับต่างประเทศด้วย เช่น จีน มอญ มลายู ลังกา และอินเดีย สมัยสุโขทัยจึงเป็นสมัยที่เริ่มมีชาวต่างประเทศเข้ามาประกอบการต่าง ๆ เช่น ชาวจีนเข้ามาทำเครื่องสังคโลก และเป็นสมัยที่มีการสนับสนุนการค้าโดยไม่เก็บภาษีศุลกากร หรือ “จกอบ” เพื่อเป็นแรงจูงใจสำหรับการค้าขายระหว่างประเทศมากขึ้น
นอก จากนี้ พ่อขุนรามคำแหงยังทรงศรัทธาในหลักปฏิบัติที่เคร่งครัดของพระภิกษุ ในพระพุทธศาสนานิกายหินยานที่มีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในประเทศลังกา โดยได้ทรงนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ลัทธิลังกาวงศ์มาประจำที่กรุงสุโขทัย เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาลัทธิใหม่ และในเวลาไม่นานนัก พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ก็มีความเจริญในสุโขทัย ประชาชนพากันยอมรับนับถือและกลายมาเป็นศาสนาประจำชาติไทยในที่สุด
การ นำพระพุทธศาสนาเข้ามา และพ่อขุนรามคำแหงได้ทรงทำตัวอย่าง ให้ประชาชนเห็นถึงความเคารพของพระองค์ที่มีต่อพระภิกษุและหลักธรรม ทำให้ศาสนากลายเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ ก่อให้เกิดศีลธรรมจรรยาและระเบียบวินัยแก่ประชาชน ทำให้มีความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกิดความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เพราะทั้งพ่อขุนและประชาชนมีหลักยึดและปฏิบัติในทางธรรม
พระมหาธรรมราชาลิไทย พ่อขุนของสุโขทัยในสมัยต่อมา ได้ทรงนิพนธ์หนังสือไทยเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ชื่อ“ไตรภูมิพระร่วง” และในหนังสือเรื่องนี้เอง ได้กล่าวถึง “ทศพิธราชธรรม” อันเป็นหลักธรรมของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
อาณาจักร สุโขทัยมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ต่อมาก็ค่อย ๆ เสื่อมอำนาจ โดยบรรดาหัวเมืองประเทศราชต่าง ๆ เริ่มแยกตัวเป็นอิสระ ไม่ขึ้นต่อสุโขทัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวเมืองเผ่าไทยทางใต้ คือ กรุงศรีอยุธยา ได้แผ่อำนาจเข้ามามีอิทธิพลเหนือกรุงสุโขทัย ในที่สุด อาณาจักรไทยยุคสุโขทัยก็ต้องอยู่ภายใต้อิทธิพลของกรุงศรีอยุธยา
2.สมัยอยุธยา ( พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2310 )
สมัยอยุธยาตอนต้น
การปกครองในสมัยอยุธยาเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจในการปกครองจะอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เหมือนกับในสมัยสุโขทัย แต่ต่อมา แนวความคิดในการปกครองนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป
การปกครองในสมัยอยุธยาเป็นการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อำนาจในการปกครองจะอยู่ที่พระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียว เหมือนกับในสมัยสุโขทัย แต่ต่อมา แนวความคิดในการปกครองนี้ได้เปลี่ยนแปลงไป
ลักษณะทางการเมืองการปกครอง
สมัยอาณาจักรอยุธยาตอนต้น มีการปกครองแบบเดียวกับสมัยสุโขทัย แต่หลังจากที่ไทยสามารถตีนครธมของขอมได้ใน พ.ศ.1974 และ กวาดต้อนขุนนางและประชาชนชาวขอมที่เคยอยู่ภายใต้อำนาจของอินเดียเข้ามาใน อยุธยาเป็นจำนวนมาก ขุนนางและประชาชนเหล่านี้ได้เอาแนวความคิดในการปกครองของเขมร ที่ได้รับอิทธิพลส่วนหนึ่งจากลัทธิพราหมณ์มาใช้ในกรุงศรีอยุธยา คือ แบบเทวราชา หรือ เทวสิทธิ ทำให้แนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องเทวราชาเข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมไทยมากขึ้น และทำให้สถาบันการปกครองของไทยเปลี่ยนแปลงไป จากการปกครองแบบ "พ่อ" กับ "ลูก" ในสมัยสุโขทัย มาเป็นการปกครองแบบ "นาย" กับ "บ่าว" ทั้ง นี้เพราะการปกครองแบบเทวสิทธิ์ถือว่า พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนเจ้าชีวิต เป็นผู้มีอำนาจเด็ดขาด สามารถกำหนดชะตาชีวิตของผู้อยู่ใต้การปกครองได้ และถือว่าอำนาจในการปกครองนั้น พระมหากษัตริย์ทรงได้รับจากสวรรค์ เป็นเทวโองการ การกระทำของพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นความต้องการของพระเจ้า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเสมือนเทพเจ้าองค์หนึ่ง หรือเป็น "สมมุติเทพ" กล่าว คือ เป็นนายของประชาชน และประชาชนเป็นบ่าวของพระมหากษัตริย์ที่จะขัดขืนมิได้โดยเด็ดขาด พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นเจ้าชีวิตของประชาชนทุกคน
กษัตริย์ในสมัยอยุธยาจึงห่างเหินจากประชาชนเป็นอันมาก ซึ่งอาจเรียกการปกครองแบบนี้ว่า "ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์" คือ พระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดแต่เพียงผู้เดียว
การ ปกครองสมัยกรุงศรีอยุธยามีเป้าหมายเช่นเดียวกับสมัยสุโขทัย คือ ป้องกันการรุกรานของศัตรู รักษาความสงบเรียบร้อยในสังคม และขยายอาณาเขตออกไปกว้างขวาง
สำหรับ เรื่องการปกครองนั้น เนื่องจากสมัยอยุธยามีระยะเวลายาวนาน และมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและหลักเกณฑ์ในการปกครอง ไม่ได้ใช้รูปแบบเดียวกันตลอดสมัย จึงอาจแบ่งการปกครองในสมัยอยุธยาออกได้เป็น 2 สมัย คือ
2.1 สมัยอยุธยาตอนต้น ( พ.ศ.1893 - พ.ศ. 1991 )
การปกครองในสมัยอยุธยาตอนตัน เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.1893 ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ซึ่งเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยา ไปจนกระทั่งถึงสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ใน พ.ศ.1991 การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1) การปกครองส่วนกลาง พระ เจ้าอู่ทองได้ทรงจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบขอม มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อำนวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง (เวียง) ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ
การปกครองในสมัยอยุธยาตอนตัน เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.1893 ในรัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) ซึ่งเป็นผู้สถาปนาอาณาจักรอยุธยา ไปจนกระทั่งถึงสิ้นรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) ใน พ.ศ.1991 การจัดระเบียบการปกครองในสมัยอยุธยาตอนต้น แบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ
1) การปกครองส่วนกลาง พระ เจ้าอู่ทองได้ทรงจัดระเบียบการปกครองส่วนกลางเป็นแบบจตุสดมภ์ตามแบบขอม มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นผู้อำนวยการปกครองสูงสุด และมีเสนาบดี 4 คน คือ ขุนเมือง (เวียง) ขุนวัง ขุนคลัง และขุนนา เป็นผู้ช่วยดำเนินการเกี่ยวกับกิจการทั้ง 4 คือ
(1) เวียง รับผิดชอบด้านรักษาความสงบและปราบปรามโจรผู้ร้าย
(2) วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับราชสำนัก การยุติธรรม และตัดสินคดีความต่าง ๆ
(3) คลัง รับผิดชอบงานด้านคลังมหาสมบัติ การค้า และภาษีต่าง ๆ
(4) นา รับผิดชอบเกี่ยวกับการเกษตร
โดยให้ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นศูนย์กลางการปกครอง
โดยให้ กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเป็นศูนย์กลางการปกครอง
2) การปกครองหัวเมือง
สมัยอยุธยาตอนต้นได้แบ่งการปกครองหัวเมือง ออกเป็นหัวเมือง 3 ประเภท คือ
สมัยอยุธยาตอนต้นได้แบ่งการปกครองหัวเมือง ออกเป็นหัวเมือง 3 ประเภท คือ
(1) หัวเมืองชั้นใน หัวเมืองชั้นในประกอบด้วยเมืองหน้าด่านชั้นในสำหรับป้องกันในราชธานี 4 ทิศ คือ ลพบุรี นครนายก พระประแดง และสุพรรณบุรี รวมทั้งหัวเมืองชั้นในเรียงรายตามระยะทางคมนาคม สามารถติดต่อกับราชธานีได้ภายใน 2 วัน เช่น นครพนม สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชลบุรี เพชรบุรี ราชบุรี เป็นต้น
(2) หัวเมืองชั้นนอก หัว เมืองชั้นนอกหรือเมืองพระยามหานคร ได้แก่ เมืองซึ่งอยู่นอกเขตหัวเมืองชั้นใน และอยู่ไกลออกไปตามทิศต่าง ๆ ได้แก่ ทิศตะวันออก เช่น โคราช จันทบุรี ทิศใต้ เช่น ไชยา นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ถลาง ทิศตะวันตก เช่น ตะนาวศรี ทวาย และเชียงกราน เมืองเหล่านี้บางเมืองในสมัยสุโขทัย จัดเป็นเมืองประเทศราช แต่ในสมัยอยุธยาได้เปลี่ยนสภาพมาเป็นหัวเมืองชั้นนอก
(3) หัวเมืองประเทศราช หัวเมืองประเทศราช ได้แก่ เมืองมะละกา ยะโฮร์ ทางแหลมมลายู และกัมพูชาด้านตะวันออก การ ปกครองส่วนภูมิภาคนอกจากจัดเป็นหัวเมืองต่าง ๆ แล้ว ยังมีการจัดระเบียบการปกครองท้องที่ในหัวเมืองชั้นในอีก โดยแบ่งออกเป็นแขวง แขวงแบ่งออกเป็นตำบล และตำบลแบ่งออกเป็นหมู่บ้าน โดยมีผู้ปกครองตามระดับ คือ หมื่น เป็นบรรดาศักดิ์ของหัวหน้าผู้ปกครองระดับแขวง และพันเป็นบรรดาศักดิ์ของหัวหน้าผู้ปกครองระดับตำบลและหมู่บ้าน
ประชาชน ในสมัยอยุธยาตอนต้นมีฐานะเป็นไพร่ ทำหน้าที่ทั้งทางทหาร และหน้าที่ทางพลเรือนพร้อมกันไป เพราะว่าการปกครองในสมัยนั้นยังไม่ใช้ทฤษฎีการแบ่งงาน ประชาชนเป็นไพร่ได้รับที่ดินตามที่ตนและครอบครัวจะทำการเพาะปลูกได้ เมื่อมีผลผลิตเกิดขึ้น ไพร่จะต้องมอบส่วนหนึ่งให้กับขุนวัง หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ดูแลที่ดินนั้น ไพร่จะต้องสละเวลาส่วนหนึ่งไปรับใช้ผู้ที่ยอมให้ตนอยู่ในที่ดินของเขา ขุนนางจะเป็นผู้ควบคุมไพร่โดยตรง และมีหน้าที่ระดมกำลังยามศึกสงคราม หรือเกณฑ์แรงงานไปช่วยทำงานสาธารณประโยชน์ ซึ่งเท่ากับว่าประชาชนหรือไพร่ทุกคนต้องรับใช้พระมหากษัตริย์ หรือไพร่มีฐานะเป็นทหารทุกคน
ลักษณะทางเศรษฐกิจในช่วงแรก (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2034)
(1) เกษตรกรรม
เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงโดยรอบตั้งอยู่บนแม่น้ำสำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ทำให้เขตราชธานีและอาณาบริเวณโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา การปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น การปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยใช้ระบบจตุสดมภ์ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) จึงเหมาะสม เพราะเสนาบดีกรมนา (เกษตราธิการ) มี หน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการทำนาและการเพาะปลูกต่างๆ รวมทั้งการออกโฉนดที่ดินให้กับประชาชนทั่วไปหักร้างถางพงบริเวณที่ดินที่ตน ต้องการ โดยเสนาบดีจะดูแลการจัดเก็บภาษีหางข้าวจากประชาชนที่ทำนา เพื่อสะสมรวบรวมไว้เป็นเสบียงหลวงสำหรับใช้ในราชการแผ่นดินต่อไป
(1) เกษตรกรรม
เนื่องจากกรุงศรีอยุธยาและหัวเมืองต่างๆ ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงโดยรอบตั้งอยู่บนแม่น้ำสำคัญหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำลพบุรี แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ทำให้เขตราชธานีและอาณาบริเวณโดยรอบมีความอุดมสมบูรณ์ เหมาะสมกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น การทำนา การปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ เป็นต้น ดังนั้น การปกครองหัวเมืองต่างๆ โดยใช้ระบบจตุสดมภ์ ในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (อู่ทอง) จึงเหมาะสม เพราะเสนาบดีกรมนา (เกษตราธิการ) มี หน้าที่รับผิดชอบดูแลเกี่ยวกับการทำนาและการเพาะปลูกต่างๆ รวมทั้งการออกโฉนดที่ดินให้กับประชาชนทั่วไปหักร้างถางพงบริเวณที่ดินที่ตน ต้องการ โดยเสนาบดีจะดูแลการจัดเก็บภาษีหางข้าวจากประชาชนที่ทำนา เพื่อสะสมรวบรวมไว้เป็นเสบียงหลวงสำหรับใช้ในราชการแผ่นดินต่อไป
สำหรับ ที่ดินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญเกี่ยวกับการผลิตทางด้านการเกษตรนั้น ในกฎหมายที่ตราขึ้นใช้ในสมัยอยุธยา ได้ระบุไว้ว่า เมื่อผู้ใดหักร้างถางพงเป็นไร่นาแล้ว ก็ให้ไปแจ้งแก่เจ้าหน้าที่เพื่อจะได้ไปตรวจดูและออกใบโฉนดให้กับผู้นั้นเป็น หลักฐาน สิ่งสำคัญก็คือประมุขสูงสุดของอาณาจักร คือ พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของแผ่นดินทั้งหมด จะทรงพระราชทานให้กับผู้ใดก็ได้
สำหรับ แรงงานนั้น ได้มีการออกกฎหมายให้ชายฉกรรจ์ทุกคนซึ่งเป็นแรงงานสำคัญ จะต้องไปขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย เพื่อสะดวกในการเกณฑ์แรงงานของทางราชการแผ่นดินในโอกาสต่อไป แรงงานชายฉกรรจ์เหล่านี้ ถ้าไม่ต้องไปสละแรงงานให้กับทางราชการ ก็สามารถดำเนินการประกอบอาชีพทางด้านเกษตรกรรมและด้านอื่นๆ ของตนได้ แรงงานไพร่นับว่ามีปริมาณมากกว่าแรงงานประเภทอื่น รองลงมาก็คือ แรงงานทาส
ผลิตผล ทางการเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว นอกจากการประกอบอาชีพเกษตรกรรมโดยตรงแล้ว ยังมีคนไทยบางพวกบางกลุ่มประกอบอาชีพในการหาของป่า เช่น ไม้ฝาง นอแรด งาช้าง หนังสัตว์ ครั่ง ยางสน กฤษณา น้ำมันสน เป็นต้น ผลิตผลที่ได้จากป่าเหล่านี้ เป็นที่ต้องการของชาวต่างชาติที่เข้ามาติดต่อค้าขายในกรุงศรีอยุธยาเป็น อย่างยิ่ง ในบางแห่งผลผลิตที่นำมาถวายจัดว่าเป็นเครื่องราชบรรณาการได้
(2) การค้ากับต่างประเทศ
ลักษณะทางเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาตอนต้นขึ้นอยู่กับการค้ากับต่างประเทศมิใช่น้อย ถึงแม้ว่าในขณะนั้น (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2054) เป็น สมัยที่อยุธยายังมิได้ติดต่อกับประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก การค้าขายกับต่างประเทศจะเป็นการค้าสำเภาทั้งหมด ซึ่งดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนาง ส่วนพ่อค้าและประชาชนในอยุธยาไม่มีความสามารถที่จะค้าขายโดยเรือสำเภาด้วยตน เองได้ จะมีแต่พ่อค้าจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าสำเภาโดยเฉพาะ
ลักษณะทางเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาตอนต้นขึ้นอยู่กับการค้ากับต่างประเทศมิใช่น้อย ถึงแม้ว่าในขณะนั้น (พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 2054) เป็น สมัยที่อยุธยายังมิได้ติดต่อกับประเทศต่างๆ ในยุโรปตะวันตก การค้าขายกับต่างประเทศจะเป็นการค้าสำเภาทั้งหมด ซึ่งดำเนินการโดยพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ และขุนนาง ส่วนพ่อค้าและประชาชนในอยุธยาไม่มีความสามารถที่จะค้าขายโดยเรือสำเภาด้วยตน เองได้ จะมีแต่พ่อค้าจีนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการค้าสำเภาโดยเฉพาะ
ประชาชนที่มีสินค้าจะฝากไปขายต่างเมืองทางเรือสำเภา จะต้องหา "ผู้เฒ่าผู้แก่" หรือ ผู้อาวุโสที่น่าเชื่อถือ หรือเพื่อนฝูงมาเป็นพยานในเรื่องการคิดราคาสินค้าที่จะฝากไปกับสำเภา ในสมัยอยุธยาตอนต้นการค้าสำเภาเจริญรุ่งเรืองพอสมควร เพราะมีการเอ่ยถึงการค้าสำเภาไว้ในกฎหมายอยุธยาลักษณะต่างๆ
การ ค้าขายกับจีน นอกจากจะส่งสินค้าไปขายโดยตรงแล้ว ยังมีการค้าในระบบบรรณาการ คือ การจัดคณะทูตอัญเชิญพระราชสาส์นและเครื่องราชบรรณาการไปถวายจักรพรรดิจีน เพื่อแสดงความอ่อนน้อม จักรพรรดิจีนก็จะมอบของตอบแทนกลับมาเกือบ 2 เท่า ของราคาสิ่งของที่นำไปถวาย และทางจีนจะอนุญาตให้ซื้อขายสินค้าได้โดยไม่ต้องเสียภาษีอากรแต่อย่างใด พ่อค้าจึงนิยมค้ากับพ่อค้าจีนในระบบบรรณาการ เพราะได้ประโยชน์และได้รับความสะดวกความปลอดภัยด้วย
ลักษณะทางสังคม
ในสมัยอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - พ.ศ.2031)พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ.1997 โดย กำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวงนั่นเอง
คำว่า "ศักดินา" หมาย ถึง การถือเอาศักดิ์ของคนเป็นเกณฑ์แต่อย่างเดียว ทุกคนมีข้อกำหนดศักดินาตามแต่ละบุคคล โดยถือเป็นเครื่องกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในสังคม แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการ ถือครองที่ดิน ใครมีศักดินาสูงก็ต้องมีสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบสูง ใครมีศักดินาต่ำก็มีสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบต่ำลดหลั่นกันไปตามลำดับ หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์
ระบบ ศักดินาจะอำนวยประโยชน์ในการควบคุมบังคับบัญชาผู้คนตามลำดับชั้นของศักดินา และการมอบหมายให้คนมีหน้าที่รับผิดชอบที่กำหนดไว้ด้วย เมื่อบุคคลทำผิดต่อกันก็สามารถใช้เป็นหลักในการปรับไหมได้ เช่น ผู้ใหญ่ทำผิดต่อผู้น้อยก็ปรับไหมตามศักดินาของผู้ใหญ่ ถ้าผู้น้อยทำผิดต่อผู้ใหญ่ก็ปรับผู้น้อยตามศักดินาของผู้ใหญ่ เป็นต้น ซึ่งพอจะเป็นหลักการในการป้องกันมิให้ผู้ใหญ่รังแกผู้น้อย และมิให้ผู้น้อยละเมิดผู้ใหญ่เช่นกัน
ในสมัยอยุธยา สังคมไทยประกอบด้วยบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่สามารถจำแนกออกได้ตามสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ของบุคคลในสังคม ดังนี้
1) พระมหากษัตริย์ คือ ประมุขสูงสุดของราชอาณาจักร ทรงได้รับการยกย่องเป็นสมมติเทพ เช่น เป็นพระนารายณ์อวตารบ้าง เป็นประดุจดังพระศิวะบ้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจทั้งหลายทั้งปวงในแผ่นดิน ความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าไทยรับเอามาจากเขมรอีกต่อหนึ่ง หากผู้ใดขัดขืนพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ จะต้องมีความผิดอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับการละเมิดอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีใน พ.ศ.1893 แล้ว พระองค์ทรงใช้พระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 และ พระราชโอรสของพระองค์ก็ใช้พระนามว่า พระราเมศวร การออกพระนามพระมหากษัตริย์เสมือนหนึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้าในศาสนา พราหมณ์ ได้แก่ พระนารายณ์ พระศิวะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคตินิยมที่ถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประดุจดังเทพเจ้า การที่อยุธยาในระยะเริ่มแรกรับเอาคตินิยมเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ว่า เป็นสมมติเทพ จึงทำให้ต้องมีวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้คนนึกว่าพระมหากษัตริย์มีความเป็นเทพเจ้าจริง ๆ
2) พระบรมวงศานุวงศ์ ชน ชั้นสูงที่มีฐานะรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งนี้หมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์ของพระมหากษัตริย์ซึ่งครองราชย์อยู่ในขณะใดขณะหนึ่งเท่า นั้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ บางทีเรียกกันว่า "เจ้านาย" บรรดา เจ้านายในพระราชวงศ์นั้นทรงมีศักดินามาตั้งแต่แรกประสูติทั้งสิ้น ศักดินาของพระราชวงศ์เพิ่มขึ้นและลดลงได้ตามความชอบและความผิดที่มีต่อแผ่น ดิน
ในสมัยอยุธยา ภายหลังจากที่ได้มีการตราพระราชกำหนดศักดินาใน พ.ศ.1997 แล้ว ปรากฏว่าบรรดาเจ้านายต่างมีศักดินาทุกพระองค์ เช่น สมเด็จพระอนุชาร่วมสายโลหิตเดียวกันกับองค์พระมหากษัตริย์มีศักดินา 20,000 ไร่ ส่วนพระเจ้าลูกเธอมีศักดินา 15,000 ไร่ แต่ถ้าได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชก็จะดำรงศักดินา 100,000 ไร่ เป็นต้น
บรรดา เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์เหล่านี้ จะได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ภาษีอากรของแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานให้ ส่วนสิทธิตามกฎหมายของเจ้านายก็คือ จะถูกพิจารณาคดีในศาลใด ๆ ไม่ได้ นอกจากศาลของกรมวัง และจะนำเจ้านายไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตาม กฎหมาย
3) ขุนนางข้าราชการ คือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดินสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา ขุนนางมีฐานะตั้งอยู่บนเกณฑ์ 4 ประการ คือ ศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก ถือศักดินา 10,000ไร่ อธิบายได้ว่าขุนนางผู้นี้มีศักดินา 10,000 ไร่ ยศ คือ เจ้าพระยา ราชทินนาม คือ จักรีศรีองครักษ์ ตำแหน่ง คือ สมุหนายก เป็นต้น
ตำแหน่งขุนนางที่สำคัญ ๆ ในสมัยอยุธยา คือ สมุหพระกลาโหม ถือศักดินา 10,000 ไร่ สมุหนายกถือศักดินา 10,000ไร่ บรรดาเสนาบดีจตุสดมภ์ก็มีศักดินาคนละ 10,000 ไร่ เช่นกัน ขุนนางนั้นมีธรรมเนียมว่า จะต้องมีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จึงจะเป็นขุนนางได้ ถ้าศักดินาต่ำกว่า 400 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า25 ไร่ ก็อาจเป็นข้าราชการได้ แต่ยังไม่ถึงระดับ "ขุนนาง"
อย่างไรก็ตาม ขุนนางก็มีโอกาสจะถูกถอดออกจากตำแหน่งได้ ถ้ามีความผิด และบรรดาศักดิ์ของขุนนางมิได้ตกทอดไปถึงลูกหลาน เมื่อตายแล้วก็หมดสิ้นไป หรือบรรดาศักดิ์นี้อาจหมดสิ้นไปในขณะที่ขุนนางยังมีชีวิตอยู่ก็ได้
อย่างไรก็ตาม ขุนนางก็มีโอกาสจะถูกถอดออกจากตำแหน่งได้ ถ้ามีความผิด และบรรดาศักดิ์ของขุนนางมิได้ตกทอดไปถึงลูกหลาน เมื่อตายแล้วก็หมดสิ้นไป หรือบรรดาศักดิ์นี้อาจหมดสิ้นไปในขณะที่ขุนนางยังมีชีวิตอยู่ก็ได้
4) ไพร่ คือ บรรดาราษฎรสามัญชนในความหมายปัจจุบัน ไพร่ต้องมีภาระ คือ การรับใช้ราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ไพร่จะเป็นชายฉกรรจ์ จะถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีเพื่อเกณฑ์ไปใช้ในราชการต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครใจอยู่ด้วย การที่ชายฉกรรจ์สามัญชนทุกคนต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย ก็เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เพราะกฎหมายระบุไว้ว่า ถ้าชายฉกรรจ์ไม่มีสังกัด ก็ไม่มีสิทธิในการศาล และไม่มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย ไพร่ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ตามสังกัด คือ
(1) ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่สังกัดกรมกองต่าง ๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามแต่หน้าที่ของกรมกองนั้น ไพร่หลวงมี 2 ลักษณะ คือ ประเภทที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานที่ทางราชการกำหนด และประเภทที่ต้องเสียเงินหรือสิ่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงาน หรือเรียกว่า ไพร่ส่วย ในช่วงแรก ๆ จะมีการส่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงาน หรือที่เรียกว่า "การเข้าเวร" แต่ในตอนปลายสมัยอยุธยา ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะมีการส่งเงินมาแทนการเกณฑ์แรงงานมากขึ้น เงินที่ส่งมาเรียกว่า "เงินค่าราชการ"
(2) ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทาง ราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ ไพร่สมจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ใน ตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อไปจากบิดา
ไพร่หลวงเป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์และจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปใช้เป็นเวลา 6 เดือนต่อปี คือ เข้าไปรับราชการ1 เดือน ออกมาอยู่บ้านของตน 1 เดือน กลับเข้าไปรับราชการอีก 1 เดือน สลับกันไปอย่างนี้ จึงเรียกการถูกเกณฑ์แรงงานในลักษณะนี้ว่า "การเข้าเวร" และ "การออกเวร"
อย่างไรก็ตาม ไพร่สามารถเปลี่ยนฐานะของตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับสูง คือ ขุนนาง ส่วนระดับต่ำ คือ ทาส แรงงานของไพร่มีประโยชน์ต่อมูลนายทั้งในด้านการเป็นกำลังไพร่พล การเป็นกำลังการผลิต และแรงงานของไพร่ก็เป็นประโยชน์ของทางราชการทั้งการเป็นกำลังพลและกำลังการ ผลิตเช่นเดียวกัน
ไพร่ หลวงจะมีฐานะลำบากที่สุดเมื่อเทียบกับไพร่สม เพราะไพร่สมมีหน้าที่รับใช้แต่เพียงมูลนาย จึงมีความสบายกว่าไพร่หลวง ซึ่งถูกเกณฑ์แรงงานโดยทางราชการ จึงจำเป็นต้องทำงานหนักกว่า
5) ทาส หมาย ถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวให้พ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิในการซื้อขายทาสได้
ทาสในสมัยอยุธยามี 7 ประเภท คือ
(1) ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์
(2) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย
(3) ทาสที่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดามารดา
(4) ทาสที่มีผู้ให้
(5) ทาสที่ได้มาด้วยการช่วยเหลือคนต้องโทษทัณฑ์
(6) ทาสที่เลี้ยงดูไว้ในยามเกิดทุกข์และอดอยาก
(7) ทาสเชลย
(1) ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์
(2) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย
(3) ทาสที่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดามารดา
(4) ทาสที่มีผู้ให้
(5) ทาสที่ได้มาด้วยการช่วยเหลือคนต้องโทษทัณฑ์
(6) ทาสที่เลี้ยงดูไว้ในยามเกิดทุกข์และอดอยาก
(7) ทาสเชลย
ทาสเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นเพราะความยากจน จึงต้องขายตัวลงเป็นทาส ส่วนคนที่มีฐานะดีก็พยายามที่จะมีทาสไว้ใช้สอย
ด้วย เหตุนี้ ทาสจึงเป็นบุคคลที่ต่ำต้อยในสังคม และได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากคนทั่วไปที่เหนือกว่า ขาดความเป็นตัวของตัวเอง และโอกาสที่คนจะขายตัวเป็นทาสก็มีมาก เพราะมีความยากจนเป็นปัจจัยสำคัญนั่นเอง
6) พระสงฆ์ เป็น บุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงได้รับการยกย่องศรัทธาจากบุคคลทุกชนชั้นในสังคม พระสงฆ์จึงเป็นสถาบันหลักของสังคม และเป็นบันไดสำหรับสามัญชนที่จะเปลี่ยนชนชั้นของตน สังคมสงฆ์เป็นสังคมที่ไม่มีชนชั้น เพราะชนชั้นสูงอย่างพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ ทาส ก็สามารถจะบวชเป็นพระสงฆ์ได้เช่นกัน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะทรงเป็นองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนาทุกยุคทุกสมัย นอกจากนี้ วัดได้กลายเป็นศูนย์กลางของสังคม บุคคลที่บวชเรียนก็สามารถหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น สถาบันสงฆ์จึงมีบทบาทในการเชื่อมประสานระหว่างชนชั้นในสังคมให้อยู่ร่วมกัน อย่างสงบสุข
2.2 สมัยอยุธยาตอนปลาย ( พ.ศ.1991 - พ.ศ. 2310 )
การปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.1991 ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา ในพ.ศ.2310 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1991 - พ.ศ.2031 ได้ปฏิรูปการปกครองใหม่ ดังนี้
การปกครองในสมัยอยุธยาตอนปลาย เริ่มตั้งแต่ พ.ศ.1991 ในสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ไปจนถึงเสียกรุงศรีอยุธยา ในพ.ศ.2310 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ซึ่งครองราชย์ระหว่าง พ.ศ.1991 - พ.ศ.2031 ได้ปฏิรูปการปกครองใหม่ ดังนี้
1) การปกครองส่วนกลาง ราชธานี ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถได้ขยายอาณาเขตออกไปอย่างกว้างขวาง โดยได้แต่งตั้งขุนนางไปปกครองเมืองลูกหลวงและให้ขึ้นต่ออัครมหาเสนาบดี เรียกว่า "เมืองพระยามหานคร" ซึ่งเป็นการรวมอำนาจเข้าส่วนกลางมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีเมืองพระยามหานครอีก 4 เมือง ที่มิได้มีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง คือ นครศรีธรรมราช นครราชสีมา ตะนาวศรี และทวาย พระองค์ได้แต่งตั้งขุนนางไปปกครองเช่นกัน แต่มีฐานะกึ่งอิสระ เพื่อตอบแทนความดีความชอบในการปฏิบัติราชการของขุนนางเหล่านั้น
การ จัดระเบียบการปกครองที่ได้พัฒนาขึ้นในสมัยพระบรมไตรโลกนาถอีกประการหนึ่ง คือ การแยกข้าราชการทหาร และข้าราชการพลเรือนออกจากกัน เพื่อการแบ่งงานรับผิดชอบอย่างชัดเจน คือ
ฝ่ายทหาร มีพระสมุหกลาโหม หรืออัครมหาเสนาบดีฝ่ายขวา เป็นหัวหน้า มีหน้าที่บังคับบัญชา และรับผิดชอบในกิจการทหารและการป้องกันประเทศ
ฝ่ายพลเรือน มีพระสมุหนายก หรืออัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้าย เป็นหัวหน้า มีหน้าที่บังคับบัญชาและรับผิดชอบกิจการพลเรือน คือ เวียง วัง คลัง นา
ส่วนไพร่ได้รับสิทธิเลือกสังกัดฝ่ายทหารหรือฝ่ายพลเมืองได้ แต่ในยามสงคราม ไพร่ทั้งสองฝ่ายต้องออกรบด้วยกัน
ในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยศักดินาขึ้นและใช้มาจนถึงยุคกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น"ศักดินา" คือ วิธีการให้เกียรติยศแก่บุคคลตั้งแต่ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์หรือเกียรติยศของบุคคล เช่น ขุนนางชั้นเอก คือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
การ กำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน นอกจากนี้ ระบบศักดินายังเกี่ยวพันกับการชำระโทษและปรับไหมในกรณีกระทำผิดอีกด้วย คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐาน
2) การปกครองหัวเมือง พระ บรมไตรโลกนาถพยายามจัดการปกครองหัวเมืองเสียใหม่ เพื่อให้ส่วนกลางสามารถคุมหัวเมืองทั้งหลายได้ แต่ก็ปรากฏว่าไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เพราะการคมนาคมไม่สะดวก คงทำได้สำเร็จเฉพาะหัวเมืองใกล้เคียงหรือหัวเมืองรอบ ๆ เมืองหลวงเท่านั้น
หัว เมืองในสมัยพระบรมไตรโลกนาถ นอกจากเมืองพระยามหานครที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งขุนนางไปปกครองแล้ว ยังมีหัวเมืองประเทศราช ที่มีเจ้าเมืองของตนเอง แต่ยอมขึ้นต่อกรุงศรีอยุธยา โดยส่งเครื่องราชบรรณาการมาถวายทุกปี หัวเมืองประเทศราชเหล่านี้ มีทั้งใกล้และไกล เช่น เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง ยะโฮร์ มะละกา เป็นต้น
ต่อมา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ปฏิรูปการปกครองหัวเมืองใหม่ โดยยกเลิกเมืองพระยามหานคร และจัดแบ่งเมืองนอกเขตราชธานีออกเป็น 3 ชั้น คือ
(1) หัวเมืองชั้นเอก มี 2 เมือง คือ พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช
(2) หัวเมืองชั้นใน มีหลายเมือง เช่น สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบุรี เป็นต้น
(3) หัวเมืองชั้นตรี เช่น พิชัย นครสวรรค์ ไชยา พัทลุง เป็นต้น
(1) หัวเมืองชั้นเอก มี 2 เมือง คือ พิษณุโลกและนครศรีธรรมราช
(2) หัวเมืองชั้นใน มีหลายเมือง เช่น สวรรคโลก สุโขทัย กำแพงเพชร เพชรบุรี เป็นต้น
(3) หัวเมืองชั้นตรี เช่น พิชัย นครสวรรค์ ไชยา พัทลุง เป็นต้น
หัว เมืองแต่ละชั้นยังมีเมืองย่อยอยู่โดยรอบ เรียกเมืองเหล่านี้ว่า เมืองจัตวา การจัดการปกครองหัวเมืองแบบนี้มีมาโดยตลอด และได้ยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ใน ด้านความสัมพันธ์กับต่างประเทศ ในสมัยอยุธยา นอกจากการค้าขายกับชาติต่าง ๆ ในเอเชียแล้ว ยังมีการค้าขายกับชาวตะวันตกด้วย โดยชาวตะวันตกชาติแรก คือ โปรตุเกส
ได้ส่งทูตชื่อ ดูอาร์ต เฟอร์นันเดซ เข้ามาใน พ.ศ.2061 ในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 โดย ได้มีการเซ็นสัญญาอนุญาตให้ชาวโปรตุเกสทำมาค้าขายในดินแดนไทยได้ ต่อจากนั้นก็มีชนชาติอื่น เช่น สเปน อังกฤษ ฮอลันดา ฝรั่งเศส ทยอยกันเข้ามามีสัมพันธ์ทางการค้ากับไทย
โดย ปกติพระมหากษัตริย์ของไทยมักให้การต้อนรับชนต่างชาติเป็นอย่างดี บางครั้งก็มีกองกำลังต่างชาติประจำการเป็นอาสาประจำอาณาจักร โดยเฉพาะในสมัยพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ.2199 - 2231) มี ชาวต่างประเทศเข้ามารับราชการในตำแหน่งสำคัญ ๆ หลายคน และมีการแลกเปลี่ยนทูตกับฝรั่งเศสหลายครั้ง หลังจากสมัยพระนารายณ์มหาราชมาแล้ว อิทธิพลของชาวตะวันตกในราชสำนักจึงลดลง เพราะพระมหากษัตริย์สมัยอยุธยาตอนปลายไม่นิยมชาวตะวันตก เพราะระแวงว่าจะเข้ามาหาทางครอบครองเอาชาติไทยเป็นเมืองขึ้น
ลักษณะทางเศรษฐกิจในช่วงที่สอง (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2310 )
(1) เกษตรกรรม เกษตรกรรมในสมัยอยุธยาช่วงที่สองยังคงดำเนินไปดังเช่นในสมัยอยุธยาช่วงแรก
(2) การค้ากับต่างประเทศ ใน สมัยอยุธยาช่วงที่สองนี้ สภาวะทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมยังคงดำเนินต่อไป ดังเช่นที่เคยดำเนินมาในช่วงแรก แต่ในเรื่องการค้ากับต่างประเทศได้ขยายตัวมากขึ้น นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072) จนถึงสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231)
(1) เกษตรกรรม เกษตรกรรมในสมัยอยุธยาช่วงที่สองยังคงดำเนินไปดังเช่นในสมัยอยุธยาช่วงแรก
(2) การค้ากับต่างประเทศ ใน สมัยอยุธยาช่วงที่สองนี้ สภาวะทางเศรษฐกิจที่เกี่ยวข้องกับเกษตรกรรมยังคงดำเนินต่อไป ดังเช่นที่เคยดำเนินมาในช่วงแรก แต่ในเรื่องการค้ากับต่างประเทศได้ขยายตัวมากขึ้น นับตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2072) จนถึงสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พ.ศ. 2199 - พ.ศ. 2231)
ในสมัยนี้การค้าทั้งภายในและภายนอกเจริญรุ่งเรืองมาก โดยเฉพาะใน พ.ศ. 2054 (สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 )เป็นยุคแรกที่ชาวยุโรปตะวันตกเริ่มเข้ามาติดต่อค้าขายกับไทย หลังจากนั้นฮอลันดา อังกฤษ ก็เข้ามาติดต่อค้าขายกับไทยใน พ.ศ. 2142 และ พ.ศ. 2155 ตามลำดับ
พระ มหากษัตริย์สมัยอยุธยาโปรดให้ชาวยุโรปตะวันตกเหล่านี้เข้ามาค้าขาย และได้พระราชทานที่ดินให้ตั้งภูมิลำเนาด้วย โดยโปรดให้จัดที่หลวงตั้งห้าง สร้างโรงสินค้าให้เช่า กรุงศรีอยุธยาจึงกลายเป็นศูนย์กลางการค้าขายในแถบนี้ บรรดาพ่อค้าที่เข้ามาติดต่อค้าขายมีทั้งชาวเอเชียและชาวตะวันตก
การ ที่อยุธยาได้ติดต่อค้าขายกับพ่อค้าชาวต่างประเทศ ทั้งที่เป็นชาวเอเชียและชาวยุโรป ทำให้รัฐได้รับประโยชน์จากการค้าเป็นอย่างมาก สินค้าบางชนิดได้กลายเป็นสินค้าผูกขาด เอกชนไม่มีสิทธิซื้อขายเพราะสินค้าเหล่านั้นเป็นสินค้าต้องห้าม รัฐจะเป็นผู้ซื้อขายเอง เช่น เครื่องศาสตราวุธ ดีบุก งาช้าง ไม้ฝาง เป็นต้น
นอก จากนี้ยังทำหน้าที่เลือกซื้อสินค้าจากต่างประเทศก่อนที่จะตกถึงมือพ่อค้า เอกชน ซึ่งการควบคุมการซื้อขายสินค้านี้จะกระทำโดยพระคลังสินค้า สังกัดกรมคลัง และการติดต่อเจรจากับต่างประเทศจะกระทำโดยกรมท่า ซึ่งสังกัดอยู่ในกรมคลังเหมือนกัน ฉะนั้น เสนาบดีกรมคลังจึงมีอำนาจเป็นอย่างมาก
กล่าวโดยสรุป ลักษณะทางเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาช่วงแรก (พ.ศ.1893 - พ.ศ.2034) และสมัยอยุธยาช่วงหลัง (พ.ศ. 2034 - พ.ศ. 2310 ) มี ความคล้ายคลึงกัน คือ ขึ้นอยู่กับการเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยมีการค้าขายกับต่างประเทศควบคู่ไปด้วย ความแตกต่างของลักษณะเศรษฐกิจในสมัยอยุธยาทั้ง 2 ช่วง อยู่ที่การค้ากับต่างประเทศ เนื่องจากในสมัยอยุธยาช่วงหลัง ได้มีพ่อค้าชาวตะวันตกเข้าติดต่อค้าขายด้วยเป็นอันมาก ต่างกับสมัยอยุธยาช่วงแรก ซึ่งมีแต่พ่อค้าทางแถบเอเชียและเพื่อนบ้านใกล้เคียงเท่านั้น ดังนั้น เมื่อการค้าของไทยได้ขยายตัวออกไปถึงขั้นค้าขายติดต่อกับพ่อค้าชาวตะวันตก นอกเหนือไปจากพ่อค้าทางแถบเอเชียด้วยกันแล้ว ก็ย่อมจะทำให้พระคลังสินค้าของไทยซึ่งมีการผูกขาดการค้าอยู่แล้วประสบผลกำไร อย่างมหาศาล ทำให้ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจโดยทั่วไปอีกด้วย
ลักษณะทางสังคม
ในสมัยอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ.1991 - พ.ศ.2031)พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ.1997 โดย กำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวงนั่นเอง
คำว่า "ศักดินา" หมาย ถึง การถือเอาศักดิ์ของคนเป็นเกณฑ์แต่อย่างเดียว ทุกคนมีข้อกำหนดศักดินาตามแต่ละบุคคล โดยถือเป็นเครื่องกำหนดสิทธิและหน้าที่ของบุคคลในสังคม แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการ ถือครองที่ดิน ใครมีศักดินาสูงก็ต้องมีสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบสูง ใครมีศักดินาต่ำก็มีสิทธิและหน้าที่ความรับผิดชอบต่ำลดหลั่นกันไปตามลำดับ หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์
ระบบ ศักดินาจะอำนวยประโยชน์ในการควบคุมบังคับบัญชาผู้คนตามลำดับชั้นของศักดินา และการมอบหมายให้คนมีหน้าที่รับผิดชอบที่กำหนดไว้ด้วย เมื่อบุคคลทำผิดต่อกันก็สามารถใช้เป็นหลักในการปรับไหมได้ เช่น ผู้ใหญ่ทำผิดต่อผู้น้อยก็ปรับไหมตามศักดินาของผู้ใหญ่ ถ้าผู้น้อยทำผิดต่อผู้ใหญ่ก็ปรับผู้น้อยตามศักดินาของผู้ใหญ่ เป็นต้น ซึ่งพอจะเป็นหลักการในการป้องกันมิให้ผู้ใหญ่รังแกผู้น้อย และมิให้ผู้น้อยละเมิดผู้ใหญ่เช่นกัน
ในสมัยอยุธยา สังคมไทยประกอบด้วยบุคคลประเภทต่าง ๆ ที่สามารถจำแนกออกได้ตามสิทธิ หน้าที่ และศักดิ์ของบุคคลในสังคม ดังนี้
1) พระมหากษัตริย์ คือ ประมุขสูงสุดของราชอาณาจักร ทรงได้รับการยกย่องเป็นสมมติเทพ เช่น เป็นพระนารายณ์อวตารบ้าง เป็นประดุจดังพระศิวะบ้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจทั้งหลายทั้งปวงในแผ่นดิน ความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าไทยรับเอามาจากเขมรอีกต่อหนึ่ง หากผู้ใดขัดขืนพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ จะต้องมีความผิดอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับการละเมิดอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า
1) พระมหากษัตริย์ คือ ประมุขสูงสุดของราชอาณาจักร ทรงได้รับการยกย่องเป็นสมมติเทพ เช่น เป็นพระนารายณ์อวตารบ้าง เป็นประดุจดังพระศิวะบ้าง ซึ่งล้วนแต่เป็นพระผู้เป็นเจ้าในศาสนาพราหมณ์ทั้งสิ้น ดังนั้น พระมหากษัตริย์จึงทรงเป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจทั้งหลายทั้งปวงในแผ่นดิน ความเป็นสมมติเทพของพระมหากษัตริย์นี้ได้รับอิทธิพลมาจากศาสนาพราหมณ์ ซึ่งสันนิษฐานว่าไทยรับเอามาจากเขมรอีกต่อหนึ่ง หากผู้ใดขัดขืนพระบรมราชโองการของพระมหากษัตริย์ จะต้องมีความผิดอย่างรุนแรงเช่นเดียวกับการละเมิดอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า
ภายหลังจากที่สมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ได้ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีใน พ.ศ.1893 แล้ว พระองค์ทรงใช้พระนามว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 และ พระราชโอรสของพระองค์ก็ใช้พระนามว่า พระราเมศวร การออกพระนามพระมหากษัตริย์เสมือนหนึ่งพระนามของพระผู้เป็นเจ้าในศาสนา พราหมณ์ ได้แก่ พระนารายณ์ พระศิวะ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคตินิยมที่ถือว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประดุจดังเทพเจ้า การที่อยุธยาในระยะเริ่มแรกรับเอาคตินิยมเกี่ยวกับองค์พระมหากษัตริย์ว่า เป็นสมมติเทพ จึงทำให้ต้องมีวิธีการและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่จะทำให้คนนึกว่าพระมหากษัตริย์มีความเป็นเทพเจ้าจริง ๆ
2) พระบรมวงศานุวงศ์ ชน ชั้นสูงที่มีฐานะรองลงมาจากพระมหากษัตริย์ ได้แก่ พระบรมวงศานุวงศ์ ทั้งนี้หมายถึง พระบรมวงศานุวงศ์ของพระมหากษัตริย์ซึ่งครองราชย์อยู่ในขณะใดขณะหนึ่งเท่า นั้น บรรดาพระบรมวงศานุวงศ์ บางทีเรียกกันว่า "เจ้านาย" บรรดา เจ้านายในพระราชวงศ์นั้นทรงมีศักดินามาตั้งแต่แรกประสูติทั้งสิ้น ศักดินาของพระราชวงศ์เพิ่มขึ้นและลดลงได้ตามความชอบและความผิดที่มีต่อแผ่น ดิน
ในสมัยอยุธยา ภายหลังจากที่ได้มีการตราพระราชกำหนดศักดินาใน พ.ศ.1997 แล้ว ปรากฏว่าบรรดาเจ้านายต่างมีศักดินาทุกพระองค์ เช่น สมเด็จพระอนุชาร่วมสายโลหิตเดียวกันกับองค์พระมหากษัตริย์มีศักดินา 20,000 ไร่ ส่วนพระเจ้าลูกเธอมีศักดินา 15,000 ไร่ แต่ถ้าได้รับสถาปนาเป็นพระมหาอุปราชก็จะดำรงศักดินา 100,000 ไร่ เป็นต้น
บรรดา เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์เหล่านี้ จะได้รับส่วนแบ่งจากรายได้ภาษีอากรของแผ่นดิน ซึ่งพระมหากษัตริย์จะทรงพระราชทานให้ ส่วนสิทธิตามกฎหมายของเจ้านายก็คือ จะถูกพิจารณาคดีในศาลใด ๆ ไม่ได้ นอกจากศาลของกรมวัง และจะนำเจ้านายไปขายเป็นทาสไม่ได้ เพราะเจ้าหน้าที่จะไม่ยอมให้กระทำสัญญาซื้อขายเช่นนั้นได้อย่างถูกต้องตาม กฎหมาย
3) ขุนนางข้าราชการ คือ บุคคลที่รับราชการแผ่นดินสนองพระเดชพระคุณพระมหากษัตริย์ ในสมัยอยุธยา ขุนนางมีฐานะตั้งอยู่บนเกณฑ์ 4 ประการ คือ ศักดินา ยศ ราชทินนาม และตำแหน่ง เช่น เจ้าพระยาจักรีศรีองครักษ์ สมุหนายก ถือศักดินา 10,000ไร่ อธิบายได้ว่าขุนนางผู้นี้มีศักดินา 10,000 ไร่ ยศ คือ เจ้าพระยา ราชทินนาม คือ จักรีศรีองครักษ์ ตำแหน่ง คือ สมุหนายก เป็นต้น
ตำแหน่งขุนนางที่สำคัญ ๆ ในสมัยอยุธยา คือ สมุหพระกลาโหม ถือศักดินา 10,000 ไร่ สมุหนายกถือศักดินา 10,000ไร่ บรรดาเสนาบดีจตุสดมภ์ก็มีศักดินาคนละ 10,000 ไร่ เช่นกัน
ขุนนางนั้นมีธรรมเนียมว่า จะต้องมีศักดินา 400 ไร่ขึ้นไป จึงจะเป็นขุนนางได้ ถ้าศักดินาต่ำกว่า 400 ไร่ แต่ไม่น้อยกว่า 25 ไร่ ก็อาจเป็นข้าราชการได้ แต่ยังไม่ถึงระดับ "ขุนนาง"
อย่าง ไรก็ตาม ขุนนางก็มีโอกาสจะถูกถอดออกจากตำแหน่งได้ ถ้ามีความผิด และบรรดาศักดิ์ของขุนนางมิได้ตกทอดไปถึงลูกหลาน เมื่อตายแล้วก็หมดสิ้นไป หรือบรรดาศักดิ์นี้อาจหมดสิ้นไปในขณะที่ขุนนางยังมีชีวิตอยู่ก็ได้
4) ไพร่ คือ บรรดาราษฎรสามัญชนในความหมายปัจจุบัน ไพร่ต้องมีภาระ คือ การรับใช้ราชการแผ่นดินของพระมหากษัตริย์ ไพร่จะเป็นชายฉกรรจ์ที่มีความสูงเสมอไหล่ 2 ศอก ครึ่ง จะถูกมูลนายเอาชื่อเข้าบัญชีเพื่อเกณฑ์ไปใช้ในราชการต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้ไพร่จึงต้องสังกัดอยู่กับเจ้าขุนมูลนายที่ตนสมัครใจอยู่ด้วย การที่ชายฉกรรจ์สามัญชนทุกคนต้องขึ้นทะเบียนสังกัดมูลนาย ก็เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย เพราะกฎหมายระบุไว้ว่า ถ้าชายฉกรรจ์ไม่มีสังกัด ก็ไม่มีสิทธิในการศาล และไม่มีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย
ไพร่ แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทตามสังกัด คือ
(1) ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่สังกัดกรมกองต่าง ๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามแต่หน้าที่ของกรมกองนั้น ไพร่หลวงมี 2 ลักษณะ คือ ประเภทที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานที่ทางราชการกำหนด และประเภทที่ต้องเสียเงินหรือสิ่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงาน หรือเรียกว่า ไพร่ส่วย ในช่วงแรก ๆ จะมีการส่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงาน หรือที่เรียกว่า "การเข้าเวร" แต่ในตอนปลายสมัยอยุธยา ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะมีการส่งเงินมาแทนการเกณฑ์แรงงานมากขึ้น เงินที่ส่งมาเรียกว่า "เงินค่าราชการ"
(2) ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทาง ราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ ไพร่สมจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ใน ตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อไปจากบิดา
(1) ไพร่หลวง หมายถึง ไพร่ที่สังกัดกรมกองต่าง ๆ เป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์โดยตรง หน้าที่ของไพร่หลวงจึงแตกต่างกันไปตามแต่หน้าที่ของกรมกองนั้น ไพร่หลวงมี 2 ลักษณะ คือ ประเภทที่ต้องถูกเกณฑ์แรงงานมาทำงานที่ทางราชการกำหนด และประเภทที่ต้องเสียเงินหรือสิ่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงาน หรือเรียกว่า ไพร่ส่วย ในช่วงแรก ๆ จะมีการส่งของมาแทนการเกณฑ์แรงงาน หรือที่เรียกว่า "การเข้าเวร" แต่ในตอนปลายสมัยอยุธยา ประมาณในช่วงแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจะมีการส่งเงินมาแทนการเกณฑ์แรงงานมากขึ้น เงินที่ส่งมาเรียกว่า "เงินค่าราชการ"
(2) ไพร่สม เป็นไพร่ที่พระมหากษัตริย์พระราชทานให้แก่เจ้านายและขุนนางที่มีตำแหน่งทาง ราชการเพื่อเป็นผลประโยชน์ ไพร่สมจะตกเป็นของมูลนายตราบเท่าที่ขุนนางผู้เป็นมูลนายยังมีชีวิตอยู่ใน ตำแหน่งราชการ เมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนมาเป็นไพร่หลวง นอกจากบุตรของขุนนางผู้นั้นจะยื่นคำร้องขอควบคุมไพร่สมต่อไปจากบิดา
ไพร่หลวงเป็นไพร่ของพระมหากษัตริย์และจะต้องถูกเกณฑ์แรงงานไปใช้เป็นเวลา 6 เดือนต่อปี คือ เข้าไปรับราชการ1 เดือน ออกมาอยู่บ้านของตน 1 เดือน กลับเข้าไปรับราชการอีก 1 เดือน สลับกันไปอย่างนี้ จึงเรียกการถูกเกณฑ์แรงงานในลักษณะนี้ว่า "การเข้าเวร" และ "การออกเวร"
อย่างไรก็ตาม ไพร่สามารถเปลี่ยนฐานะของตนเองได้เป็น 2 ระดับ คือ ระดับสูง คือ ขุนนาง ส่วนระดับต่ำ คือ ทาส แรงงานของไพร่มีประโยชน์ต่อมูลนายทั้งในด้านการเป็นกำลังไพร่พล การเป็นกำลังการผลิต และแรงงานของไพร่ก็เป็นประโยชน์ของทางราชการทั้งการเป็นกำลังพลและกำลังการ ผลิตเช่นเดียวกัน
ไพร่ หลวงจะมีฐานะลำบากที่สุดเมื่อเทียบกับไพร่สม เพราะไพร่สมมีหน้าที่รับใช้แต่เพียงมูลนาย จึงมีความสบายกว่าไพร่หลวง ซึ่งถูกเกณฑ์แรงงานโดยทางราชการ จึงจำเป็นต้องทำงานหนักกว่า
5) ทาส หมาย ถึง บุคคลที่มิได้มีกรรมสิทธิ์ในแรงงานและชีวิตของตนเอง แต่กลับตกเป็นของนายจนกว่าจะได้รับการไถ่ตัวให้พ้นจากความเป็นทาส นายมีสิทธิในการซื้อขายทาสได้
ทาสในสมัยอยุธยามี 7 ประเภท คือ
(1) ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์
(2) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย
(3) ทาสที่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดามารดา
(4) ทาสที่มีผู้ให้
(5) ทาสที่ได้มาด้วยการช่วยเหลือคนต้องโทษทัณฑ์
(6) ทาสที่เลี้ยงดูไว้ในยามเกิดทุกข์และอดอยาก
(7) ทาสเชลย
ทาสเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นเพราะความยากจน จึงต้องขายตัวลงเป็นทาส ส่วนคนที่มีฐานะดีก็พยายามที่จะมีทาสไว้ใช้สอย
(1) ทาสไถ่มาด้วยทรัพย์
(2) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย
(3) ทาสที่ได้มาจากข้างฝ่ายบิดามารดา
(4) ทาสที่มีผู้ให้
(5) ทาสที่ได้มาด้วยการช่วยเหลือคนต้องโทษทัณฑ์
(6) ทาสที่เลี้ยงดูไว้ในยามเกิดทุกข์และอดอยาก
(7) ทาสเชลย
ทาสเหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นเพราะความยากจน จึงต้องขายตัวลงเป็นทาส ส่วนคนที่มีฐานะดีก็พยายามที่จะมีทาสไว้ใช้สอย
ด้วย เหตุนี้ ทาสจึงเป็นบุคคลที่ต่ำต้อยในสังคม และได้รับการดูถูกเหยียดหยามจากคนทั่วไปที่เหนือกว่า ขาดความเป็นตัวของตัวเอง และโอกาสที่คนจะขายตัวเป็นทาสก็มีมาก เพราะมีความยากจนเป็นปัจจัยสำคัญนั่นเอง
6) พระสงฆ์ เป็น บุคคลที่สืบทอดพระพุทธศาสนา ดังนั้น จึงได้รับการยกย่องศรัทธาจากบุคคลทุกชนชั้นในสังคม พระสงฆ์จึงเป็นสถาบันหลักของสังคม และเป็นบันไดสำหรับสามัญชนที่จะเปลี่ยนชนชั้นของตน สังคมสงฆ์เป็นสังคมที่ไม่มีชนชั้น เพราะชนชั้นสูงอย่างพระมหากษัตริย์หรือพระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ ไพร่ ทาส ก็สามารถจะบวชเป็นพระสงฆ์ได้เช่นกัน พระมหากษัตริย์ทุกพระองค์จะทรงเป็นองค์อุปถัมภกพระพุทธศาสนาทุกยุคทุกสมัย นอกจากนี้ วัดได้กลายเป็นศูนย์กลางของสังคม บุคคลที่บวชเรียนก็สามารถหาความรู้ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น สถาบันสงฆ์จึงมีบทบาทในการเชื่อมประสานระหว่างชนชั้นในสังคมให้อยู่ร่วมกัน อย่างสงบสุข
3. สมัยธนบุรี (พ.ศ.2310 - พ.ศ.2325)
การ ปกครองในสมัยธนบุรี ไม่ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปจากรูปแบบเดิมที่ใช้อยู่ในสมัยอยุธยา เนื่องจากขณะนั้นเป็นระยะที่ไทยกำลังรวบรวมอาณาจักรขึ้นใหม่ พระเจ้ากรุงธนบุรี (ตากสิน) ทรงมีพระราชภาระในการปราบปรามบรรดาชุมนุมอิสระต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นหลังกรุงศรีอยุธยาแตก
ลักษณะทางเศษฐกิจ
ใน ขณะที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชขึ้นครองราชสมบัตินั้น บ้านเมืองกำลังประสบความตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างที่สุด ขาดแคลนข้าวปลาอาหาร เกิดความอดอยากยากแค้น จึงมีการปล้นสะดมแย่งชิงอาหารอยู่ทั่วไป การทำไร่ทำนาต้องหยุดชะงักโดยสิ้นเชิง ในช่วงปี พ.ศ. 2311 - 2319 ข้าว ปลาอาหารฝืดเคืองมาก มิหนำซ้ำยังเกิดภัยธรรมชาติซ้ำเติม ทำให้ภาวะเศรษฐกิจที่เลวร้ายอยู่แล้วกลับทรุดหนักลงไปอีก กล่าวคือ ได้เกิดมีหนูระบาดออกมากินข้าวในยุ้งฉาง ความขาดแคลนในระยะนั้นได้ทวีความรุนแรงถึงกับมีผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมากกว่า เมื่อครั้งที่พม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยาเสียอีกสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ ทรงแก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยกุศโลบายอันแยบคาย ทั้งในระยะสั้น และระยะยาว ดังต่อไปนี้
1) ทรงสละพระราช ทรัพย์ซื้อข้าวสารราคาแพง ที่ต่างชาตินำมาขาย แล้วนำไปขายให้ราษฎรในราคาถูก และทรงแจกเสื้อผ้า อาหารแก่ผู้ยากไร้ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งได้ผลดีอย่างยิ่งในการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ประชาชน ซึ่งภาวะจิตใจกำลังตกต่ำสุดขีดจากสภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด
2) ทรงเร่งรัดการทำนา เพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ โดยการเกณฑ์ข้าราชการทำนาปรัง (การทำนานอกฤดูกาล) ในเวลาเดียวกันก็ป่าวประกาศให้ราษฎรดักหนูในนามามอบให้ทางราชการ เพื่อกำจัดการระบาดของหนูนาให้หมดไปโดยรวดเร็ว
ทรงวางแผนระระยาว เพิ่มเนื้อที่ปลูกข้าวใกล้พะนคร โดยทรงให้ปรับปรุงพื้นที่นอกกำแพงเมืองทั้ง 2 ฟาก ซึ่งเคยเป็นสวนเป็นป่า ให้เป็นทะเลตม พอเสร็จศึกพม่าราวกลางปี พ.ศ. 2319 ก็ทรงบัญชาให้กองทัพลงมือทำนาในที่ซึ่งตระเตรียมไว้นั้นเศรษฐกิจในสมัยธนบุรีเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา (คือทำพอมีพอกินในแต่ละครอบครัว) การ ทำนาเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นก็มีการปลูกฝ้าย ยาสูบ อ้อย ผัก และผลไม้กันทั่วไป เมื่อบ้านเมืองพ้นจากภาวะสงครามไม่มีข้าศึกมารบกวน ประชาชนก็มีเวลาตั้งหน้าประกอบการอาชีพ ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น บ้านเมืองจึงสามารถกลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ภายในเวลาไม่กี่ปี ส่งผลให้เกิดธุรกิจการผลิตและการติดต่อค้าขายขยายกว้างออกไปเกิดบริเวณชุมชน ตามแหล่งผลิตต่างๆ เพิ่มขึ้น และค่อยๆ เติบโตเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ ในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจนั้น พระองค์ได้ทรงดำเนินการในด้านต่างๆ ดังนี้
1) การสร้างงานด้านการเกษตร เพื่อ เร่งรัดการผลิตอาหารได้เพียงพอสำหรับการบริโภค ในขั้นแรกได้ทรงใช้แรงงานคนไทยโดยระดมกำลังจากกองทัพ แต่หลังจากที่ทรงปราบปรามหัวเมืองต่างๆ ไว้ได้ในอำนาจ จึงได้แรงงานจากเชลยที่กวาดต้อนมาได้ เช่น แรงงานจากเชลยชาวลาว เชลยชาวเขมรใช้ในการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รวมไปถึงแรงงานชาวจีนซึ่งได้รับการสนับสนุนให้เข้ามาประกอบอาชีพใน ราชอาณาจักรด้วย
2) การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในหัวเมือง
เมื่อแรงงานในส่วนกลางมีมากขึ้น จึงทรงใช้แรงงานเหล่านั้นไปสร้างความเจริญให้แก่หัวเมือง เช่น ให้คนลาวไปตั้งบ้านเรือนทำการเพาะปลูกที่เมืองสระบุรี ราชบุรี เพชรบุรี จันทบุรี ให้ชาวจีนบางกลุ่มไปประกอบอาชีพทำไร่ เช่น ไร่อ้อย ไร่พริกไทย ตามหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก และอาชีพทำเหมืองทางภาคใต้ ธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้ทำให้เกิดความเจริญเติบโตของเมือง มีชุมชนขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามแห่งผลิตต่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพซึ่งทำกันอยู่เดิมก็เริ่มเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจเชิง พาณิชย์ ทำให้เกิดมีโรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล และเหมืองดีบุกขึ้นมา
3) การเปิดรับความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นความสำคัญของความรู้ที่ต้องใช้ในการพัฒนาชาติบ้านเมือง เช่น ความรู้ทางด้านการค้าขายและทางช่าง จึงทรงสนับสนุนให้ชาวจีนเข้ามาช่วยเหลือกิจการในด้านเหล่านี้ เป็นต้นว่า การต่อเรือ การเดินเรือ การตั้งโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม เช่น โรงสี โรงเลื่อยจักร โรงงานน้ำตาล ปรากฏว่าความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ ทำให้ผลผลิตจากชนบทเข้าสู่เมืองมากขึ้น และส่งเสริมให้ธุรกิจเชิงพาณิชย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
4) การส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงส่งเสริมทางด้านการค้าขาย โดยส่งเรือสำเภาไปค้าขายยังประเทศจีน อินเดีย และประเทศใกล้เคียง สำหรับสิ่งของที่บรรทุกเรือสำเภาหลวงไปขาย มี ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ และเมื่อขายสินค้าหมดแล้วก็จะซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ในประเทศ เช่น ผ้าลายและถ้วยชามมาขายให้แก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง แต่ยังใช้ระบบการค้าขายแบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ อยู่ภายใต้การดูแลของพระคลังสินค้า หรือกรมท่า ลักษณะทางสังคม
1) ทรงสละพระราช ทรัพย์ซื้อข้าวสารราคาแพง ที่ต่างชาตินำมาขาย แล้วนำไปขายให้ราษฎรในราคาถูก และทรงแจกเสื้อผ้า อาหารแก่ผู้ยากไร้ เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ซึ่งได้ผลดีอย่างยิ่งในการสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ประชาชน ซึ่งภาวะจิตใจกำลังตกต่ำสุดขีดจากสภาวะบ้านแตกสาแหรกขาด
2) ทรงเร่งรัดการทำนา เพื่อให้มีข้าวบริโภคเพียงพอ โดยการเกณฑ์ข้าราชการทำนาปรัง (การทำนานอกฤดูกาล) ในเวลาเดียวกันก็ป่าวประกาศให้ราษฎรดักหนูในนามามอบให้ทางราชการ เพื่อกำจัดการระบาดของหนูนาให้หมดไปโดยรวดเร็ว
ทรงวางแผนระระยาว เพิ่มเนื้อที่ปลูกข้าวใกล้พะนคร โดยทรงให้ปรับปรุงพื้นที่นอกกำแพงเมืองทั้ง 2 ฟาก ซึ่งเคยเป็นสวนเป็นป่า ให้เป็นทะเลตม พอเสร็จศึกพม่าราวกลางปี พ.ศ. 2319 ก็ทรงบัญชาให้กองทัพลงมือทำนาในที่ซึ่งตระเตรียมไว้นั้นเศรษฐกิจในสมัยธนบุรีเป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพเช่นเดียวกับสมัยอยุธยา (คือทำพอมีพอกินในแต่ละครอบครัว) การ ทำนาเป็นอาชีพหลัก นอกจากนั้นก็มีการปลูกฝ้าย ยาสูบ อ้อย ผัก และผลไม้กันทั่วไป เมื่อบ้านเมืองพ้นจากภาวะสงครามไม่มีข้าศึกมารบกวน ประชาชนก็มีเวลาตั้งหน้าประกอบการอาชีพ ทำให้ฐานะความเป็นอยู่ของครอบครัวดีขึ้น บ้านเมืองจึงสามารถกลับฟื้นคืนสู่สภาพปกติได้ภายในเวลาไม่กี่ปี ส่งผลให้เกิดธุรกิจการผลิตและการติดต่อค้าขายขยายกว้างออกไปเกิดบริเวณชุมชน ตามแหล่งผลิตต่างๆ เพิ่มขึ้น และค่อยๆ เติบโตเป็นบ้านเมืองขนาดใหญ่ ในการสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจนั้น พระองค์ได้ทรงดำเนินการในด้านต่างๆ ดังนี้
1) การสร้างงานด้านการเกษตร เพื่อ เร่งรัดการผลิตอาหารได้เพียงพอสำหรับการบริโภค ในขั้นแรกได้ทรงใช้แรงงานคนไทยโดยระดมกำลังจากกองทัพ แต่หลังจากที่ทรงปราบปรามหัวเมืองต่างๆ ไว้ได้ในอำนาจ จึงได้แรงงานจากเชลยที่กวาดต้อนมาได้ เช่น แรงงานจากเชลยชาวลาว เชลยชาวเขมรใช้ในการเพาะปลูกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้รวมไปถึงแรงงานชาวจีนซึ่งได้รับการสนับสนุนให้เข้ามาประกอบอาชีพใน ราชอาณาจักรด้วย
2) การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจในหัวเมือง
เมื่อแรงงานในส่วนกลางมีมากขึ้น จึงทรงใช้แรงงานเหล่านั้นไปสร้างความเจริญให้แก่หัวเมือง เช่น ให้คนลาวไปตั้งบ้านเรือนทำการเพาะปลูกที่เมืองสระบุรี ราชบุรี เพชรบุรี จันทบุรี ให้ชาวจีนบางกลุ่มไปประกอบอาชีพทำไร่ เช่น ไร่อ้อย ไร่พริกไทย ตามหัวเมืองชายทะเลด้านตะวันออก และอาชีพทำเหมืองทางภาคใต้ ธุรกิจขนาดใหญ่เหล่านี้ทำให้เกิดความเจริญเติบโตของเมือง มีชุมชนขนาดใหญ่เกิดขึ้นตามแห่งผลิตต่างๆ ระบบเศรษฐกิจแบบยังชีพซึ่งทำกันอยู่เดิมก็เริ่มเปลี่ยนเป็นเศรษฐกิจเชิง พาณิชย์ ทำให้เกิดมีโรงสีข้าว โรงงานน้ำตาล และเหมืองดีบุกขึ้นมา
3) การเปิดรับความรู้และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ สมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเห็นความสำคัญของความรู้ที่ต้องใช้ในการพัฒนาชาติบ้านเมือง เช่น ความรู้ทางด้านการค้าขายและทางช่าง จึงทรงสนับสนุนให้ชาวจีนเข้ามาช่วยเหลือกิจการในด้านเหล่านี้ เป็นต้นว่า การต่อเรือ การเดินเรือ การตั้งโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรกรรม เช่น โรงสี โรงเลื่อยจักร โรงงานน้ำตาล ปรากฏว่าความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านี้ ทำให้ผลผลิตจากชนบทเข้าสู่เมืองมากขึ้น และส่งเสริมให้ธุรกิจเชิงพาณิชย์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
4) การส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ
สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงส่งเสริมทางด้านการค้าขาย โดยส่งเรือสำเภาไปค้าขายยังประเทศจีน อินเดีย และประเทศใกล้เคียง สำหรับสิ่งของที่บรรทุกเรือสำเภาหลวงไปขาย มี ดีบุก พริกไทย ครั่ง ขี้ผึ้ง ไม้หอม ฯลฯ และเมื่อขายสินค้าหมดแล้วก็จะซื้อสินค้าต่างประเทศที่ต้องการใช้ในประเทศ เช่น ผ้าลายและถ้วยชามมาขายให้แก่ประชาชนอีกต่อหนึ่ง แต่ยังใช้ระบบการค้าขายแบบเดียวกับสมัยอยุธยา คือ อยู่ภายใต้การดูแลของพระคลังสินค้า หรือกรมท่า ลักษณะทางสังคม
ชีวิต ความเป็นอยู่ของประชาชนในสมัยธนบุรี กล่าวได้ว่า มีการควบคุมกันอย่างเข้มงวด เพราะบ้านเมืองตกอยู่ในภาวะสงคราม ต้องสู้รบกับพม่าข้าศึกอยู่ตลอดเวลา การเกณฑ์พลเรือนเข้ารับราชการไพร่โดย การสักเลก อันเป็นธรรมเนียมมาแต่โบราณนั้น ได้มีการกวดขันเป็นพิเศษในสมัยนี้ โดยเฉพาะการลงทะเบียนชายฉกรรจ์เป็น ไพร่หลวง ทั้งนี้เพื่อป้องกันการหลีกเลี่ยงและหลบหนี แต่โดยเหตุที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงเป็นผู้นำที่สามารถและเปี่ยมด้วย ความเมตตา ราษฎรจึงยินยอมพร้อมใจกันเสียสละพัฒนาชาติบ้านเมืองอย่างเต็มความสามารถ ทำให้สังคมไทยกลับคืนสู่สภาพปกติภายในเวลาอันรวด เร็ว
ใน ปลายรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ บันทึกไว้ว่า สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีพระสติฟั่นเฟือนไป เข้าพระทัยว่าทรงบรรลุโสดาบัน และจะให้พระสงฆ์กราบไหว้พระองค์ซึ่งเป็นคฤหัสถ์ บ้านเมืองเกิดความระส่ำระสาย นอกจากนี้ราษฎรทั่วไปยังได้รับความเดือดร้อนจากข้าราชการที่ทุจริตกดขี่ข่ม เหงหาประโยชน์ส่วนตัว เป็นเหตุให้ละทิ้งบ้านเรือนหนีเข้าป่าไปเป็นจำนวนมาก คนร้ายกลุ่มหนึ่งที่กรุงเก่า (กรุงศรีอยุธยา) จึง ถือโอกาสคบคิดกันปลุกปั่นยุยงราษฎรให้กระด้างกระเดื่องต่อพระเจ้ากรุงธนบุรี และก่อการกบฏเข้าปล้นจวนผู้รักษากรุงเก่า ฆ่าผู้รักษากรุงเก่าและคณะกรมการเมือง สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงมีรับสั่งให้พระยาสรรค์ขึ้นไปสอบสวน แต่พระยาสรรค์กลับไปเข้ากับพวกกบฏ และยกพวกมาปล้นพระราชวังที่กรุงธนบุรี ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2324 บังคับ ให้สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชออกผนวชและคุมพระองค์ไว้ที่พระอุโบสถวัดอรุณ ราชวราราม แล้วพระยาสรรค์ก็ตั้งตนเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน ทางฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งไปราชการทัพเมืองเขมรและกำลังจะยกเข้าตีเมืองเสียมราฐ เมื่อทราบข่าวเกิดจลาจลในกรุงธนบุรี จึงรีบยกทัพกลับ ขณะนั้นเป็นเดือนเมษายน พ.ศ. 2325 เมื่อ มาถึงก็ได้สอบสวนเรื่องราวความยุ่งยากที่เกิดขึ้น และให้ประชุมข้าราชการ ที่ประชุมลงความเห็นว่าให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เสีย
ตลอด รัชสมัยของพระองค์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชต้องทรงตรากตรำในการสู้รบ เพื่อดำรงความเป็นเอกราชและขยายขอบเขตแผ่นดินไทย จนสามารถขยายเป็นอาณาจักรใหญ่ในแหลมทองนี้ นับได้ว่าพระองค์ทรงเป็นนักรบอย่างแท้จริง มิได้ทรงมีโอกาสแม้แต่จะเสวยสุขสงบแม้ในบั้นปลายพระชนม์ชีพ ในตอนปลายรัชกาล พระยาสรรค์ได้ก่อกบฏ บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย จนเป็นเหตุให้ทรงถูกสำเร็จโทษ
4. สมัยรัตนโกสินทร์ (พ.ศ.2325 - ปัจจุบัน)
รูปแบบการปกครองของกรุงศรีอยุธยาคงใช้อยู่เรื่อยมา จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงได้มีการปฏิรูปการปกครองขึ้นอย่าง ไรก็ตาม อาจกล่าวได้ว่าการปรับปรุงระเบียบแบบแผนการปกครอง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการวางแนวรากฐานเตรียมพร้อมไว้สำหรับการปฏิรูปมาตั้งแต่สมัยพระบาท สมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4โดย พระองค์ได้ทรงสนับสนุนให้มีการศึกษาอารยธรรมตะวันตก ซึ่งเป็นเหตุให้ได้รับทราบถึงความเจริญก้าวหน้าในหลักการปกครองของชาติตะวัน ตกและนำมาปรับปรุงการปกครองของไทย
ใน สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอังกฤษและฝรั่งเศส ทำให้ประเทศเพื่อนบ้านของไทยต้องตกเป็นอาณานิคมของประเทศทั้งสอง ส่วนประเทศไทยเป็นประเทศเดียวที่มิได้เป็นอาณานิคมของชาติใด ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ จึงแข่งขันกันเพื่อเข้ามามีอิทธิพลเหนือประเทศไทย
พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงได้ทรงดำเนินนโยบายทางการทูต เพื่อมิให้ประเทศมหาอำนาจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถือเป็นข้ออ้างในการยึดครองประเทศ ไทย โดยการเร่งพัฒนาประเทศให้มีความเจริญในด้านต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว และศึกษาหาความรู้ ความเข้าใจในภาษา วัฒนธรรม และสถานการณ์ต่าง ๆ ของชาติตะวันตก อันจะทำให้การเจรจากับประเทศเหล่านั้นดีขึ้น
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีแนวความคิดที่มีประโยชน์ต่อการปกครองอย่างยิ่ง 2 ประการ คือ
1) การศึกษาภาษาต่างประเทศ พระองค์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ใช้เจรจากับประเทศมหาอำนาจ กับส่งเสริมให้ข้าราชการได้ศึกษาหาความรู้ให้สามารถเข้าใจภาษาต่างประเทศ จะได้ไม่เสียเปรียบชาวต่างประเทศ
2) การบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาช่วยราชการด้านต่าง ๆ เช่น ครูฝึกทหาร ครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้จัดการท่าเรือ ผู้อำนวยการศุลกากร เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยมีความเจริญในด้านต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ฝึกให้ข้าราชการไทยได้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติราชการ ต่อไปด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอง เพราะทรงเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะรักษาเอกราชของบ้านเมืองไว้ได้ในช่วงการ ขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก การปรับปรุงการปกครองให้ทันสมัย ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้ว สามารถปกครองดูแลพัฒนาบ้านเมืองได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ประเทศชาติมีรายได้ในการทำนุบำรุงบ้านเมืองมากขึ้น ทำให้สายตาของชาวต่างชาติมองประเทศไทยต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ และด้วยการวางวิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกอย่างเหมาะสม ยอมรับว่าชาวยุโรปเป็นชาติที่เจริญ ให้เกียรติและยกย่อง พร้อมกับเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติบางอย่าง เพื่อให้เห็นว่าไทยไม่ใช่ชนชาติป่าเถื่อน เช่น ให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า นอกจากนั้น ยังยอมผ่อนปรนอย่างชาญฉลาด แม้จะเสียผลประโยชน์หรือดินแดนไปบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ยังสามารถรักษาส่วนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ประเทศไทยคงความเป็นชาติที่มีเอกราชมาได้ตลอด
1) การศึกษาภาษาต่างประเทศ พระองค์ทรงศึกษาภาษาอังกฤษอย่างจริงจัง เพื่อจะได้ใช้เจรจากับประเทศมหาอำนาจ กับส่งเสริมให้ข้าราชการได้ศึกษาหาความรู้ให้สามารถเข้าใจภาษาต่างประเทศ จะได้ไม่เสียเปรียบชาวต่างประเทศ
2) การบริหารราชการแผ่นดิน พระองค์ทรงจ้างผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศมาช่วยราชการด้านต่าง ๆ เช่น ครูฝึกทหาร ครูสอนภาษาอังกฤษ ผู้จัดการท่าเรือ ผู้อำนวยการศุลกากร เป็นต้น เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยมีความเจริญในด้านต่าง ๆ ขณะเดียวกันก็ฝึกให้ข้าราชการไทยได้มีความรู้ความสามารถในการปฏิบัติราชการ ต่อไปด้วย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการปกครอง เพราะทรงเห็นว่าเป็นหนทางหนึ่งที่จะรักษาเอกราชของบ้านเมืองไว้ได้ในช่วงการ ขยายลัทธิจักรวรรดินิยมของชาติตะวันตก การปรับปรุงการปกครองให้ทันสมัย ทำให้ชาวต่างชาติเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เจริญแล้ว สามารถปกครองดูแลพัฒนาบ้านเมืองได้ นอกจากนี้ ยังทำให้เศรษฐกิจดีขึ้น ประชาชนมีความเป็นอยู่ดีขึ้น ประเทศชาติมีรายได้ในการทำนุบำรุงบ้านเมืองมากขึ้น ทำให้สายตาของชาวต่างชาติมองประเทศไทยต่างจากประเทศเพื่อนบ้านอื่น ๆ และด้วยการวางวิเทโศบายทางการทูตกับชาติตะวันตกอย่างเหมาะสม ยอมรับว่าชาวยุโรปเป็นชาติที่เจริญ ให้เกียรติและยกย่อง พร้อมกับเปลี่ยนแปลงวิธีปฏิบัติบางอย่าง เพื่อให้เห็นว่าไทยไม่ใช่ชนชาติป่าเถื่อน เช่น ให้ข้าราชการสวมเสื้อเวลาเข้าเฝ้า นอกจากนั้น ยังยอมผ่อนปรนอย่างชาญฉลาด แม้จะเสียผลประโยชน์หรือดินแดนไปบ้าง แต่ก็เป็นส่วนน้อย ยังสามารถรักษาส่วนใหญ่ไว้ได้ ทำให้ประเทศไทยคงความเป็นชาติที่มีเอกราชมาได้ตลอด
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีแนวความคิดในการปฏิรูปการปกครองอยู่ 3 ประการ คือ
1) การรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง มากขึ้นทั้งนี้เพื่อมิให้ชาติตะวันตกอ้างเอาดินแดนไปยึดครองอีก ถ้าอำนาจของรัฐบาลกลางแผ่ไปถึงอาณาเขตใด ก็เป็นการยืนยันว่าเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
2) การศาลและกฎหมายที่มีมาตรฐาน จากการยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในรัชกาลที่ 4 เป็นเพราะประเทศอาณานิคมอ้างว่าศาลไทยไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระราชดำริที่จะปรับปรุงการศาลยุติธรรมและกฎหมายไทยให้เป็นสากลมากขึ้น
3) การพัฒนาประเทศ พระองค์ทรงริเริ่มนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น สร้างถนน ขุดคูคลอง จัดให้มีการปกครอง ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ เป็นต้น
1) การรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง มากขึ้นทั้งนี้เพื่อมิให้ชาติตะวันตกอ้างเอาดินแดนไปยึดครองอีก ถ้าอำนาจของรัฐบาลกลางแผ่ไปถึงอาณาเขตใด ก็เป็นการยืนยันว่าเป็นอาณาเขตของประเทศไทย
2) การศาลและกฎหมายที่มีมาตรฐาน จากการยอมเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขตในรัชกาลที่ 4 เป็นเพราะประเทศอาณานิคมอ้างว่าศาลไทยไม่มีคุณภาพ ไม่ได้มาตรฐาน ดังนั้น รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระราชดำริที่จะปรับปรุงการศาลยุติธรรมและกฎหมายไทยให้เป็นสากลมากขึ้น
3) การพัฒนาประเทศ พระองค์ทรงริเริ่มนำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาใช้เพื่อพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น สร้างถนน ขุดคูคลอง จัดให้มีการปกครอง ไฟฟ้า ไปรษณีย์ โทรเลข รถไฟ เป็นต้น
การปฏิรูปการปกครองของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ก่อให้เกิดการจัดระเบียบการปกครองที่สำคัญ จำแนกได้ 3 ส่วน คือ
1) การปกครองส่วนกลาง การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นทั้งหมด เมื่อ พ.ศ.2435 มี 12 กระทรวง คือ
(1) มหาดไทย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว
(2) กลาโหม รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออก ตะวันตก และเมืองมลายู
(3) ต่างประเทศ รับผิดชอบเกี่ยวกับการต่างประเทศ
(4) วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการในพระราชวัง
(5) เมืองหรือนครบาล รับผิดชอบเกี่ยวกับการตำรวจและราชทัณฑ์
(6) เกษตราธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้
(7) คลัง รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน
(8) ยุติธรรม รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคดีและการศาล
(9) ยุทธนาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการทหาร
(10) ธรรมการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา การสาธารณสุขและสงฆ์
(11) โยธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถนน คลอง การช่าง ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ
(12) มุรธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน และงานระเบียบสารบรรณ
ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน และประชุมร่วมกันเป็นเสนาบดีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงแต่งตั้ง "สภาที่ปรึกษาในพระองค์" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "รัฐมนตรีสภา" ประกอบด้วย เสนาบดี หรือผู้แทน กับผู้ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รวมกันไม่น้อยกว่า 12 คน จุดประสงค์เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาดังกล่าวไม่ได้บรรลุจุดประสงค์ที่ทรงหวังไว้ เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ไม่กล้าโต้แย้งพระราชดำริ คณะที่ปรึกษาส่วนใหญ่มักพอใจที่จะปฏิบัติตามมากกว่าที่จะแสดงความคิด เห็น นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงแต่งตั้ง "องคมนตรีสภา" ขึ้นอีก ประกอบด้วยสมาชิกเมื่อแรกตั้งถึง 49 คน มีทั้งสามัญชน ตั้งแต่ชั้นหลวงถึงเจ้าพระยา และพระราชวงศ์ องคมนตรีสภานี้อยู่ในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะข้อความที่ปรึกษา และตกลงกันในองคมนตรีสภาแล้วจะต้องนำเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีสภาก่อนแล้วจึงจะ เสนอเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ 2) การปกครองส่วนภูมิภาค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ ยกเลิกการปกครองหัวเมือง และให้เปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคโดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ขึ้น เพื่อจัดการปกครองเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ดังนี้
(1) มณฑลเทศาภิบาล ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่ 2 เมืองขึ้นไป มีสมุหเทศาภิบาล ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งไปปกครองดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ
(2) เมือง ประกอบด้วยอำเภอหลายอำเภอ มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาล
(3) อำเภอ ประกอบด้วยท้องที่หลาย ๆ ตำบล มีนายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ
(4) ตำบล ประกอบด้วยท้องที่ 10 - 20 หมู่บ้าน มีกำนันซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
(5) หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านเรือนประมาณ 10 บ้านขึ้นไป มีราษฎรอาศัยประมาณ 100 คน เป็นหน่วยปกครองที่เล็กที่สุด มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิก มณฑลเทศาภิบาล และเปลี่ยน เมือง เป็น จังหวัด
1) การปกครองส่วนกลาง การปรับปรุงการบริหารราชการในส่วนกลางของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ ทรงยกเลิกตำแหน่งอัครเสนาบดี 2 ตำแหน่ง คือ สมุหกลาโหม และสมุหนายก รวมทั้งจตุสดมภ์ โดยแบ่งการบริหารราชการออกเป็นกระทรวงตามแบบอารยประเทศ และให้มีเสนาบดีเป็นผู้ว่าการแต่ละกระทรวง กระทรวงที่ตั้งขึ้นทั้งหมด เมื่อ พ.ศ.2435 มี 12 กระทรวง คือ
(1) มหาดไทย รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาว
(2) กลาโหม รับผิดชอบหัวเมืองฝ่ายใต้ หัวเมืองฝ่ายตะวันออก ตะวันตก และเมืองมลายู
(3) ต่างประเทศ รับผิดชอบเกี่ยวกับการต่างประเทศ
(4) วัง รับผิดชอบเกี่ยวกับกิจการในพระราชวัง
(5) เมืองหรือนครบาล รับผิดชอบเกี่ยวกับการตำรวจและราชทัณฑ์
(6) เกษตราธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการเพาะปลูก เหมืองแร่ ป่าไม้
(7) คลัง รับผิดชอบเกี่ยวกับภาษีอากรและงบประมาณแผ่นดิน
(8) ยุติธรรม รับผิดชอบเกี่ยวกับการชำระคดีและการศาล
(9) ยุทธนาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการทหาร
(10) ธรรมการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการศึกษา การสาธารณสุขและสงฆ์
(11) โยธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการก่อสร้าง ถนน คลอง การช่าง ไปรษณีย์โทรเลข และรถไฟ
(12) มุรธาธิการ รับผิดชอบเกี่ยวกับการรักษาตราแผ่นดิน และงานระเบียบสารบรรณ
ภายหลังได้ยุบกระทรวงยุทธนาธิการไปรวมกับกระทรวงกลาโหม และยุบกระทรวงมุรธาธิการไปรวมกับกระทรวงวัง คงเหลือเพียง 10 กระทรวง เสนาบดีทุกกระทรวงมีฐานะเท่าเทียมกัน และประชุมร่วมกันเป็นเสนาบดีสภา ทำหน้าที่ปรึกษาและช่วยบริหารราชการแผ่นดินตามที่พระมหากษัตริย์ทรงมอบหมาย เพราะอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นของพระมหากษัตริย์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงแต่งตั้ง "สภาที่ปรึกษาในพระองค์" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนเป็น "รัฐมนตรีสภา" ประกอบด้วย เสนาบดี หรือผู้แทน กับผู้ที่โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง รวมกันไม่น้อยกว่า 12 คน จุดประสงค์เพื่อให้เป็นที่ปรึกษาและคอยทัดทานอำนาจพระมหากษัตริย์ แต่การปฏิบัติหน้าที่ของสภาดังกล่าวไม่ได้บรรลุจุดประสงค์ที่ทรงหวังไว้ เพราะสมาชิกส่วนใหญ่ไม่กล้าโต้แย้งพระราชดำริ คณะที่ปรึกษาส่วนใหญ่มักพอใจที่จะปฏิบัติตามมากกว่าที่จะแสดงความคิด เห็น นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงแต่งตั้ง "องคมนตรีสภา" ขึ้นอีก ประกอบด้วยสมาชิกเมื่อแรกตั้งถึง 49 คน มีทั้งสามัญชน ตั้งแต่ชั้นหลวงถึงเจ้าพระยา และพระราชวงศ์ องคมนตรีสภานี้อยู่ในฐานะรองจากรัฐมนตรีสภา เพราะข้อความที่ปรึกษา และตกลงกันในองคมนตรีสภาแล้วจะต้องนำเข้าที่ประชุมรัฐมนตรีสภาก่อนแล้วจึงจะ เสนอเสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ 2) การปกครองส่วนภูมิภาค
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำริให้ ยกเลิกการปกครองหัวเมือง และให้เปลี่ยนแปลงเป็นการปกครองส่วนภูมิภาคโดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ ร.ศ.116 ขึ้น เพื่อจัดการปกครองเป็นมณฑล เมือง อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ดังนี้
(1) มณฑลเทศาภิบาล ประกอบด้วยเมืองตั้งแต่ 2 เมืองขึ้นไป มีสมุหเทศาภิบาล ที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งไปปกครองดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ
(2) เมือง ประกอบด้วยอำเภอหลายอำเภอ มีผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้รับผิดชอบ ขึ้นตรงต่อข้าหลวงเทศาภิบาล
(3) อำเภอ ประกอบด้วยท้องที่หลาย ๆ ตำบล มีนายอำเภอเป็นผู้รับผิดชอบ
(4) ตำบล ประกอบด้วยท้องที่ 10 - 20 หมู่บ้าน มีกำนันซึ่งเลือกตั้งมาจากผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
(5) หมู่บ้าน ประกอบด้วยบ้านเรือนประมาณ 10 บ้านขึ้นไป มีราษฎรอาศัยประมาณ 100 คน เป็นหน่วยปกครองที่เล็กที่สุด มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้รับผิดชอบ
ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ยกเลิก มณฑลเทศาภิบาล และเปลี่ยน เมือง เป็น จังหวัด
3) การปกครองส่วนท้องถิ่น
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้อง ถิ่นในรูปสุขาภิบาล ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบัน เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2440 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ขึ้นบังคับใช้ในกรุงเทพฯ ต่อมาใน ร.ศ.124 (พ.ศ. 2448) ได้ ขยายไปที่ท่าฉลอม ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดีเป็นอย่างมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) ขึ้น โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมืองและสุขาภิบาลตำบล ท้องถิ่นใดเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลประเภทใด ก็ให้ประกาศตั้งสุขาภิบาลในท้องถิ่นนั้น
แม้ว่าการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์จะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระราชกรณียกิจบางประการของพระมหากษัตริย์ก็ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นฐาน การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงดำเนินการดังต่อไปนี้
1) การเลิกทาส
ทรงประกาศเลิกทาสเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2417 นโยบายการเลิกทาสของพระองค์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทัดเทียมกัน อันเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
2) การสนับสนุนการศึกษา
ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาสเล่า เรียน ศึกษาหาความรู้ ตั้งทุนพระราชทาน ส่งผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อต่างประเทศ จากการสนับสนุนการศึกษาอย่างกว้างขวางนี้ นับได้ว่าเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการปกครองประเทศสู่ระบอบ ประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
3) การปฏิรูปการปกครองทรง เปิดโอกาสให้ข้าราชการมีส่วนรับผิดชอบในการบริหารมาก ขึ้น ทรงสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งสุขาภิบาล ทำให้ประชาชนธรรมดามีส่วนและมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารการปกครอง ตามหลักการประชาธิปไตยที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ มีการส่งเสริมการศึกษาให้แพร่หลาย มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง และสนับสนุนให้ทุนหลวงโดยส่งนักเรียนไปเรียนในต่างประเทศ มีการศึกษาภาคบังคับ โดยกำหนดว่าเด็กที่มีอายุครบเกณฑ์ 7 ปี ต้องเข้ารับการศึกษาขั้นประถมศึกษา ทำให้ประชาชนมีการศึกษาเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงนิยมระบอบ ประชาธิปไตย โดยได้ทรงตั้ง "เมืองสมมุติดุสิตธานี" ขึ้น ในบริเวณวังพญาไท จำลองรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีรัฐธรรมนูญการปกครองลักษณะนคราภิบาล ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง และให้ข้าราชบริพารสมมุติตนเองเป็นราษฎรของดุสิตธานี มีการจัดตั้งสภาการเมืองและเปิดโอกาสให้ราษฎรสมมุติใช้สิทธิใช้เสียงแบบ ประชาธิปไตย เป็นเสมือนการฝึกหัดการปกครองแบบ ประชาธิปไตย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ ในระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2474 ว่า พระองค์ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน เพราะทรงเห็นว่าคนไทยมีการศึกษาดีขึ้น มีความคิดอ่าน และสนใจทางการเมืองมากขึ้น เมื่อเสด็จกลับมา พระองค์ทรงมอบให้พระศรีวิสารวาจา ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ และนายเรมอน สตีเวนส์ ที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศ พิจารณาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น แต่ดำเนินการไม่ทันแล้วเสร็จ ก็มีการปฏิวัติขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 โดยคณะราษฎรได้เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงจัดให้มีการบริหารราชการส่วนท้อง ถิ่นในรูปสุขาภิบาล ซึ่งมีหน้าที่คล้ายเทศบาลในปัจจุบัน เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2440 โดยโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกำหนดสุขาภิบาลกรุงเทพฯ ร.ศ.116 (พ.ศ.2440) ขึ้นบังคับใช้ในกรุงเทพฯ ต่อมาใน ร.ศ.124 (พ.ศ. 2448) ได้ ขยายไปที่ท่าฉลอม ปรากฏว่าดำเนินการได้ผลดีเป็นอย่างมาก ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติจัดการสุขาภิบาล ร.ศ.127 (พ.ศ.2451) ขึ้น โดยแบ่งสุขาภิบาลออกเป็น 2 ประเภท คือ สุขาภิบาลเมืองและสุขาภิบาลตำบล ท้องถิ่นใดเหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นสุขาภิบาลประเภทใด ก็ให้ประกาศตั้งสุขาภิบาลในท้องถิ่นนั้น
แม้ว่าการปกครองในสมัยรัตนโกสินทร์จะเป็นแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แต่พระราชกรณียกิจบางประการของพระมหากษัตริย์ก็ถือได้ว่าเป็นการปูพื้นฐาน การปกครองระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทรงดำเนินการดังต่อไปนี้
1) การเลิกทาส
ทรงประกาศเลิกทาสเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ.2417 นโยบายการเลิกทาสของพระองค์นั้นเพื่อให้ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ และความเสมอภาคทัดเทียมกัน อันเป็นหลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย
2) การสนับสนุนการศึกษา
ทรงจัดตั้งโรงเรียนเพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาสเล่า เรียน ศึกษาหาความรู้ ตั้งทุนพระราชทาน ส่งผู้มีความสามารถไปศึกษาต่อต่างประเทศ จากการสนับสนุนการศึกษาอย่างกว้างขวางนี้ นับได้ว่าเป็นรากฐานของการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดในการปกครองประเทศสู่ระบอบ ประชาธิปไตยในเวลาต่อมา
3) การปฏิรูปการปกครองทรง เปิดโอกาสให้ข้าราชการมีส่วนรับผิดชอบในการบริหารมาก ขึ้น ทรงสนับสนุนการปกครองท้องถิ่นด้วยการจัดตั้งสุขาภิบาล ทำให้ประชาชนธรรมดามีส่วนและมีโอกาสเรียนรู้ประสบการณ์การบริหารการปกครอง ตามหลักการประชาธิปไตยที่ต้องการให้ประชาชนมีส่วนในการปกครองบ้านเมือง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ได้ มีการส่งเสริมการศึกษาให้แพร่หลาย มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้นหลายแห่ง และสนับสนุนให้ทุนหลวงโดยส่งนักเรียนไปเรียนในต่างประเทศ มีการศึกษาภาคบังคับ โดยกำหนดว่าเด็กที่มีอายุครบเกณฑ์ 7 ปี ต้องเข้ารับการศึกษาขั้นประถมศึกษา ทำให้ประชาชนมีการศึกษาเพิ่มขึ้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแสดงให้เห็นว่าพระองค์ทรงนิยมระบอบ ประชาธิปไตย โดยได้ทรงตั้ง "เมืองสมมุติดุสิตธานี" ขึ้น ในบริเวณวังพญาไท จำลองรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยขึ้นใช้ในเมืองสมมุตินั้น โดยโปรดเกล้าฯ ให้มีรัฐธรรมนูญการปกครองลักษณะนคราภิบาล ซึ่งเปรียบเสมือนรัฐธรรมนูญของเมือง และให้ข้าราชบริพารสมมุติตนเองเป็นราษฎรของดุสิตธานี มีการจัดตั้งสภาการเมืองและเปิดโอกาสให้ราษฎรสมมุติใช้สิทธิใช้เสียงแบบ ประชาธิปไตย เป็นเสมือนการฝึกหัดการปกครองแบบ ประชาธิปไตย พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ได้พระราชทานสัมภาษณ์แก่นักหนังสือพิมพ์ ในระหว่างเสด็จเยี่ยมเยียนสหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ.2474 ว่า พระองค์ทรงเตรียมการที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญแก่ประชาชน เพราะทรงเห็นว่าคนไทยมีการศึกษาดีขึ้น มีความคิดอ่าน และสนใจทางการเมืองมากขึ้น เมื่อเสด็จกลับมา พระองค์ทรงมอบให้พระศรีวิสารวาจา ที่ปรึกษากฎหมายกระทรวงการต่างประเทศ และนาย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทย มีความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย เริ่มปรากฏให้เห็นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ. 2427) และมีเหตุการณ์อื่นอันเป็นแรงผลักดันมากขึ้น สืบสานความคิดมาเป็นการยึดอำนาจการปกครองของประเทศในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ความคิดและความเคลื่อนไหวเพื่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย มีมาจากประชาชนในยุโรป และอเมริกา ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 23 การปกครองของอังกฤษซึ่งค่อยๆ ดำเนินไปสู่ระบบรัฐสภาแห่งเสรีประชาธิปไตย โดยไม่ต้องมีการปฏิวัติเสียเลือดเนื้อ การเรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเองของอเมริกาจากอังกฤษใน พ.ศ. 2319 (ค.ศ. 1776) และการปฏิวัติในประเทศฝรั่งเศสใน พ.ศ. 2332 (ค.ศ.1789) หลังจากนั้นความคิดแบบประชาธิปไตยก็แพร่ขยายไปยังประเทศต่างๆประเทศไทยก็ได้รับแนวความคิดเรื่องการปกครองประเทศระบอบประชาธิปไตยด้วยการติดต่อกับประเทศในยุโรปและอเมริกา
การติดต่อกับต่างประเทศในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เริ่มตั้งแต่มีพระราชไมตรีทางการค้ากับประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2367 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาพวกมิชชันนารีจากประเทศสหรัฐอเมริกาเข้ามาเผยแพร่คริสต์ศาสนาในประเทศไทย คนไทยเริ่มศึกษาภาษาอังกฤษ ศึกษาวิทยาการต่างๆ โดยเฉพาะพระภิกษุเจ้าฟ้ามงกุฎ กลุ่มพระบรมวงศานุวงศ์ และ กลุ่มข้าราชการก็ศึกษาวิชาการต่างๆ ด้วย ดังนั้นสังคมไทยบางกลุ่มจึงได้มีค่านิยมโลกทัศน์ตามวิทยาการตะวัน ตก
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ. 2394 นั้น พระองค์ทรงตระหนักว่าถึงเวลาที่ประเทศไทยจะต้องยอมเปิดสันติภาพกับประเทศ ตะวันตกในลักษณะใหม่ และปรับปรุงบ้านเมืองให้ก้าวหน้าเยี่ยงอารยประเทศ ทั้งนี้เพราะเพื่อนบ้านกำลังถูกคุกคามด้วยลัทธิจักรวรรดินิยม จึงทรงเปลี่ยนนโยบายต่างประเทศของไทยมาเป็นการยอมทำสนธิสัญญาตามเงื่อนไขของ ประเทศตะวันตก และพยายามรักษาไมตรีนั้นไว้เพื่อความอยู่รอดของประเทศ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง มีพระราชประสงค์อย่างแรงกล้าที่จะปฏิรูปประเทศไทยให้เจริญทัดเทียมกับประเทศ ตะวันตก ปัจจัยที่จะนำไปสู่จุดหมายได้คือ คน เงิน และการบริหารที่ดี ทรงมีพระราชดำริว่า หนทางแห่งความก้าวหน้าของชาติจะมีมาได้ก็ต้องอาศัยการศึกษาเป็นปัจจัย จึงทรงตั้งพระราชหฤทัยเด็ดเดี่ยวว่า เยาวชนรุ่นใหม่ทั้งของราชวงศ์และบุตรขุนนางจะต้องได้รับการศึกษาอย่างดีกว่า รุ่นพระองค์เอง ในระยะแรกอิทธิพลของประเทศตะวันตกที่มีต่อประเทศไทยคือ ประเทศอังกฤษ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระองค์เจ้าปฤษฎางค์ หม่อมเจ้าเจ๊ก นพวงศ์ กับพระยาชัยสุรินทร์ (ม.ร.ว. เทวหนึ่ง สิริวงศ์) ไป เรียนที่ประเทศอังกฤษเป็นพวกแรก นับว่าเป็นครั้งแรกที่ทรงส่งนักเรียนหลวงไปเรียนถึงยุโรป ต่อมาก็ส่งพระราชโอรสและนักศึกษาไปศึกษาวิชาทหารที่ประเทศเยอรมนี ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์ก และประเทศรัสเชีย ก่อนหน้านั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงคัดเลือกหม่อมเจ้า 14 คน ไปเรียนหนังสือที่สิงคโปร์ 2 ปี ระหว่าง พ.ศ. 2413 - พ.ศ. 2415 ในโอกาสที่พระองค์เสด็จพระราชดำเนินไปสิงค์โปร์ในปี พ.ศ. 2413 นั่นเป็นการเตรียมคนที่จะเข้ามาช่วยแบ่งเบาพระราชภาระในการปรับปรุงประเทศ การเตรียมปัจจัยการเงินเป็นการเตรียมพร้อมประการหนึ่ง ถ้าขาดเงินจะดำเนินกิจการใดให้สำเร็จสมความมุ่งหมายคงจะเป็นไปได้ยาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นว่า การจัดการเงินแบบเก่ามีางรั่วไหลมาพวกเจ้าภาษีนายอากรไม่ส่งเงินเข้าพระคลังครบ ถ้วนตามจำนวนที่ประมูลได้พระองค์จึงทรงจัดการเรื่องการเงินของแผ่นดินหรือ การคลังทันทีที่พระองค์ทรงบรรลุนิติภาวะ มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินเต็มที่ เริ่มด้วยให้ตราพระราชบัญญัติตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ จ.ศ. 1235 (พ.ศ. 2416) มีพระราชบัญญัติกรมพระคลังมหาสมบัติในปี จ.ศ. 1237 (พ.ศ. 2418) เพื่อจะได้ใช้จ่ายทุนบำรุงประเทศ ต่อมาทรงให้จัดทำงบประมาณจัดสรรเงินให้แต่กระทรวงต่างๆ เป็นสัดส่วน
พระ บาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังไม่ทรงทันได้ปรับปรุงการปกครองประเทศให้เป็นไปตามที่พระองค์ทรงตั้งพระ ราชหฤทัยไว้ ก็มีกลุ่มเจ้านายและข้า ราชการทำหนังสือกราบบังคมทูลความเห็นจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชการแผ่น ดินเมื่อ ร.ศ. 103 (พ.ศ.2427) ทั้งนี้อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า ที่พระองค์ยังไม่ทรงปรับปรุงงบการบริหารประเทศก่อน พ.ศ. 2428 เพราะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้น คือ วิกฤติการณ์วังหน้า เมื่อพ.ศ. 2417 การ ที่ทรงตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ให้รวมเงินมาอยู่ที่เดียวกัน กระทบกระเทือนต่อเจ้านาย เละข้าราชการ โดยเฉพาะกรมพระราชวังบวร สถานมงคล กรมหมื่นไชยชาญ วิกฤติการณ์วังหน้าเป็นเรื่องของความขัดแย้งระหว่างวังหลวงกับวังหน้า แสดงถึงปฏิกิริยาโต้ตอบ การริเริ่มดึงอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางคือสถาบันกษัตริย์ เห็นได้ชัดเจน ว่าเมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคล กรมหมืนวิไชยชาญ ทิวงคต ในปี พ.ศ. 2428 พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงปรับปรุงการบริหารการปกครองส่วนกลางเป็น 12 กรม (ต่อมาเรียกว่า กระทรวง) ในปีพ.ศ. 2432
ความ ต้องการที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทยให้เป็นไปตามระบอบ ประชาธิปไตย ได้เริ่มมีมาแต่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีความเคลื่อนไหวมาตลอดจนถึงวันที่เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 แนวความคิดและความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้แก่
1.การเรียกร้องต้องการรัฐธรรมนูญ ของกลุ่มเจ้านายและข้าราชการใน ร.ศ.103
2.ร่างรัฐธรรมนูญ แผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
3.บทความเกี่ยวกับอุดมการณ์ประชาธิปไตยของเทียนวรรณ
4.ความพยายามที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองของกลุ่มกบฏ ร.ศ.130
5.แนวพระราชดำริและการเตรียมการเรื่องระบอบประชาธิปไตยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
สมัย ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นสมัยการสร้างชาติบ้านเมือง ให้รุ่งเรืองเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยา ดังคำกล่าวที่ว่า "ทำให้เหมือนเมื่อครั้งบ้านเมืองยังดี" ดังนั้นช่วงรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๓ เป็นสมัยที่ กรุงรัตนโกสินทร์เจริญรอยตามแบบกรุงศรีอยุธยา ทั้งทางด้านรูปแบบและการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์
โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีรูปแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งเป็นสังคมครอบครัวและสังคมทั่วไป สังคมครอบครัวไม่แตกต่างจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนสังคมทั่วไปมีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปและยังคงแบ่งคนในสังคมทั่วไปเป็น ๒ ชนชั้น คือชนชั้นผู้ปกครองประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ นักบวช กับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง คือไพร่และทาส
ชนชั้นผู้ปกครอง
ผู้ปกครองมีฐานะเป็นมูลนาย มูลนายมี ๒ อย่างคือ มูลนายโดยกำเนิด ได้แก่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ และมูลนายโดยการดำรงตำแหน่ง เช่นขุนนางข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมไพร่ตามอำนาจความรับผิดชอบของ ตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และแตกต่างจากมูลนายโดยกำเนิดที่ศักดินา สิทธิและอำนาจ ที่ล้วนขึ้นอยู่กับตำแหน่ง มูลนายโดยตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีอำนาจมากที่สุดคือ พระมหากษัตริย์ รวมถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและเจ้านายที่ทรงกรม
มูลนาย ยังแบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ มูลนายระดับสูง และ มูลนายระดับล่าง ซึ่งปรากฏในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัว เมือง มูลนายระดับสูงหมายถึงผู้ถือศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งเจ้านาย ขุนนาง พระภิกษุ พราหมณ์ ผู้รู้ศิลปศาสตร์ รวมทั้งพระมหากษัตริย์ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมูลนายระดับสูงทำให้คนเหล่านั้นมีสิทธิพิเศษบาง ประการ เช่น มีสิทธิเข้าเฝ้า ขณะเสด็จออกว่าราชการและลูกมูลนายระดับสูงได้รับการยกเว้นไม่ต้องสักเป็น ไพร่
มูลนายระดับล่าง หมายถึงผู้ถือศักดินาระหว่าง ๓๐-๔๐๐ มูลนายระดับสูงเป็นผู้แต่งตั้งให้มาช่วยราชการ ทำหน้าที่ควบคุมไพร่โดยอยู่ใต้บังคับบัญชาของมูลนายระดับสูงอีกทีหนึ่ง ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกสักเป็นไพร่ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ครอบคลุมถึงครอบครัว คนเหล่านี้เป็นฐานอำนาจของมูลนายระดับสูง
ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง
ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองประกอบด้วยไพร่และทาส ไพร่คือราษฎรสามัญทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากและเป็นคนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักร ต้องสังกัดมูลนายเพื่อแลกเปลี่ยนกับความคุ้มครอง ถือศักดินาระหว่าง ๑๐-๒๕ ความเป็นไพร่มีมาแต่กำเนิดและได้รับการแบ่งปันขึ้นสังกัดกรมกองต่าง ๆ เมื่อลูกหมู่ชายหญิงอายุ ๙ ปีขึ้นไป ไพร่ยังมาจากผู้ที่สึกจากสมณเพศ ทาสที่เป็นไทและมูลนายที่ทำผิดแล้วถูกถอดเป็นไพร่ ส่วนทาสมีศักดินา ๕ ทาสมีทั้งทาส ที่เป็นมาแต่กำเนิด เชลยศึก ผู้ที่ขายตัวหรือถูกขายตัวเป็นทาส ทั้งไพร่และทาสมีหน้าที่เหมือนกันตรงที่ต้องถูกเกณฑ์ไปรบเมื่อมีราชการ สงคราม
ไพร่ มีระเบียบว่า เริ่มจากแบ่งลูกหมู่อายุ ๙ ปีขึ้นไปเข้าสังกัดมูลนายเป็นไพร่หลวง ไพร่สม หรือไพร่ส่วย ตามสังกัดของบิดามารดา มูลนายต้องทำบัญชีไว้จนกว่าจะปลดชรา การปลดชราไพร่สมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เดิมก่อน พ.ศ. ๒๔๔๒ ไม่มีกำหนดอายุสิ้นสุดของไพร่เป็นลายลักษณ์อักษร การปลดชราพิจารณาจากสังขารของไพร่ และค่อย ๆ มีแนวโน้มว่าอายุควรเป็นเครื่องกำหนดได้และตระหนักว่าคนอายุ ๗๐ ปี ใช้ราชการไม่ค่อยได้แล้ว แต่ยังคงใช้ทำงานเบา ๆ ต่อไป อายุจึงไมใช่เครื่องกำหนดในการปลดชราและตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๒ ไพร่ปลดชราเมื่ออายุ ๖๐ ปี ไพร่สมัยรัตนโกสินทร์มี ๓ ประเภท ดังนี้
๑.ไพร่หลวง หมายถึงไพร่ของหลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ พวกนี้กระจายอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีเจ้ากรมและข้าราชการกรมต่าง ๆ ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ สมัยรัชกาลที่ ๑ ไพร่หลวงเข้ารับราชการปีละ ๔ เดือนคือเข้าเดือน ออก ๒ เดือน สมัยรัชกาลที่ ๒ รับราชการ ๓ เดือนต่อปีหรือเข้าเดือนออก ๓ เดือนใช้มาจนสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้นรัชกาลไพร่หลวงจึงเข้ามารับราชการปีละหนึ่งเดือน พ.ศ. ๒๔๒๕ จึงได้เริ่มมีการปลดปล่อยไพร่และทาส
๒.ไพร่สม เป็นกำลังคนส่วนใหญ่ของมูลนาย มักเรียกรวม ๆ กันว่า ข้าหรือข้าเจ้า บ่าวขุนนาง สมัยต้นรัตนโกสินทร์ไพร่สมต้องรับใช้มูลนายของตนและต้องรับใช้ข้าราชการ โดยการมาให้แรงงานปีละ ๑ เดือน หากไม่ไป จะต้องเสียเงินให้ราชการหนึ่งตำลึงสองบาท (๖ บาท)
ไพร่ สมเป็นเสมือน สมบัติของมูลนาย ที่จะใช้งานส่วนตัวได้โดยไม่ระบุเวลาใช้งานที่แน่นอน เเต่ไม่ใช่สมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง แต่ความเป็นจริงมักปรากฏว่าทายาทของมูลนายเดิมหรือมูลนายอื่นจะถือโอกาสขอ ตัวไพร่สมนั้นไว้ พระมหากษัตริย์มักจะพระราชทานให้ตามที่ขอ สมัยรัชกาลที่ ๑ กฎหมายยังให้สิทธิแก่ไพร่สมฟ้องร้องมูลนายของตนได้ ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าชนะความจะพ้นจากความเป็นไพร่สมไปเป็นไพร่หลวง นอกจากนั้นถ้านายทำผิดแล้วต้องโทษ ไพร่สมของมูลนายคนนี้จะถูกโอนเป็นไพร่หลวงแยกไปสังกัดกรมกองต่าง ๆ มีมูลนายใหม่ควบคุม
๓. ไพร่ส่วย หมายถึงไพร่ที่ไม่ต้องทำงานให้รัฐ แต่ส่งส่วยให้เป็นการตอบแทนการส่งส่วยมีทั้งส่งเป็นรายปีและส่วยเกณฑ์กรณี พิเศษ เช่น เรียกเกณฑ์ให้ตัดไม้มาใช้ในการสร้างพระเมรุ ขุดหาแร่ทองแดงมาหล่อพระพุทธรูป ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเกณฑ์แรงงานไพร่ส่วยได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทางการจัดหาเสบียงอาหารให้ด้วย
ไพร ส่วยนี้ที่จริงแล้วคือไพร่หลวงที่ ไม่สะดวกในการเข้ารับราชการหรือทางการไม่ต้องการแรงงานเพราะไม่สามารถหางาน ให้คนทั่วราชอาณาจักรทำได้ อีก ทั้งต้องการส่วยสิ่งของเพื่อไปค้าสำเภาด้วย จึงกำหนดให้ส่งส่วยแทน
ข้า พระโยมสงฆ์ จัดเป็นไพร่ส่วยด้วย อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้ากรม ปลัดกรมและสมุหบัญชีเช่นเดียวกับไพร่กองอื่น ๆ ต่างกันที่เป็นของฝ่ายพทุธจักร เพราะทางการได้หักกำลังคนส่วนนี้ออกจากกรมกองเดิม พ้นจากหน้าที่ที่ทำอยู่เดิมแล้วมอบให้วัดเพื่อให้แรงงานโดยตรง พวกนี้มีหน้าที่ทำงานให้วัดและช่วยวัดอื่นๆ ด้วย สมัยรัชกาลที่ ๔ ข้าพระโยมสงฆ์ส่วนหนึ่งต้องทำส่วยส่งรัฐเป็นรายปีด้วย
ทาส คือ พลเมืองอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เป็นพลเมืองที่มีสถานะเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวของนายเงิน การโอนหรือขายต่อเป็นสิทธิของนายเงิน ทาสจึงต่างจากไพร่ตรงจุดนี้ กฎหมายยังรับรองสิทธิของนายเงินที่มีเหนือทาส ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายให้ความคุ้มครองทาสด้วย ทาสสมัยรัตนโกสินทร์มีสภาพเช่นเดียวกับทาสสมัยกรุงศรีอยุธยาดังได้กล่าวมา แล้ว
โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์
โครงสร้างสังคมสมัยต้นรัตนโกสินทร์มีรูปแบบเดียวกับสมัยกรุงศรีอยุธยา โดยแบ่งเป็นสังคมครอบครัวและสังคมทั่วไป สังคมครอบครัวไม่แตกต่างจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนสังคมทั่วไปมีรายละเอียดปลีกย่อยออกไปและยังคงแบ่งคนในสังคมทั่วไปเป็น ๒ ชนชั้น คือชนชั้นผู้ปกครองประกอบด้วย พระมหากษัตริย์ เจ้านาย ขุนนาง ข้าราชการ นักบวช กับชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง คือไพร่และทาส
ชนชั้นผู้ปกครอง
ผู้ปกครองมีฐานะเป็นมูลนาย มูลนายมี ๒ อย่างคือ มูลนายโดยกำเนิด ได้แก่เจ้านายเชื้อพระวงศ์ และมูลนายโดยการดำรงตำแหน่ง เช่นขุนนางข้าราชการที่ได้รับมอบหมายให้ควบคุมไพร่ตามอำนาจความรับผิดชอบของ ตำแหน่งที่ดำรงอยู่ และแตกต่างจากมูลนายโดยกำเนิดที่ศักดินา สิทธิและอำนาจ ที่ล้วนขึ้นอยู่กับตำแหน่ง มูลนายโดยตำแหน่งที่มีความสำคัญและมีอำนาจมากที่สุดคือ พระมหากษัตริย์ รวมถึงกรมพระราชวังบวรสถานมงคลและเจ้านายที่ทรงกรม
มูลนาย ยังแบ่งเป็น ๒ ชั้นคือ มูลนายระดับสูง และ มูลนายระดับล่าง ซึ่งปรากฏในพระไอยการตำแหน่งนาพลเรือนและพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัว เมือง มูลนายระดับสูงหมายถึงผู้ถือศักดินาตั้งแต่ ๔๐๐ ขึ้นไป ซึ่งมีทั้งเจ้านาย ขุนนาง พระภิกษุ พราหมณ์ ผู้รู้ศิลปศาสตร์ รวมทั้งพระมหากษัตริย์ด้วย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งมูลนายระดับสูงทำให้คนเหล่านั้นมีสิทธิพิเศษบาง ประการ เช่น มีสิทธิเข้าเฝ้า ขณะเสด็จออกว่าราชการและลูกมูลนายระดับสูงได้รับการยกเว้นไม่ต้องสักเป็น ไพร่
มูลนายระดับล่าง หมายถึงผู้ถือศักดินาระหว่าง ๓๐-๔๐๐ มูลนายระดับสูงเป็นผู้แต่งตั้งให้มาช่วยราชการ ทำหน้าที่ควบคุมไพร่โดยอยู่ใต้บังคับบัญชาของมูลนายระดับสูงอีกทีหนึ่ง ได้รับสิทธิพิเศษไม่ถูกสักเป็นไพร่ เป็นสิทธิเฉพาะตัวไม่ครอบคลุมถึงครอบครัว คนเหล่านี้เป็นฐานอำนาจของมูลนายระดับสูง
ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครอง
ชนชั้นผู้อยู่ใต้ปกครองประกอบด้วยไพร่และทาส ไพร่คือราษฎรสามัญทั่วไปซึ่งมีจำนวนมากและเป็นคนส่วนใหญ่ของราชอาณาจักร ต้องสังกัดมูลนายเพื่อแลกเปลี่ยนกับความคุ้มครอง ถือศักดินาระหว่าง ๑๐-๒๕ ความเป็นไพร่มีมาแต่กำเนิดและได้รับการแบ่งปันขึ้นสังกัดกรมกองต่าง ๆ เมื่อลูกหมู่ชายหญิงอายุ ๙ ปีขึ้นไป ไพร่ยังมาจากผู้ที่สึกจากสมณเพศ ทาสที่เป็นไทและมูลนายที่ทำผิดแล้วถูกถอดเป็นไพร่ ส่วนทาสมีศักดินา ๕ ทาสมีทั้งทาส ที่เป็นมาแต่กำเนิด เชลยศึก ผู้ที่ขายตัวหรือถูกขายตัวเป็นทาส ทั้งไพร่และทาสมีหน้าที่เหมือนกันตรงที่ต้องถูกเกณฑ์ไปรบเมื่อมีราชการ สงคราม
ไพร่ มีระเบียบว่า เริ่มจากแบ่งลูกหมู่อายุ ๙ ปีขึ้นไปเข้าสังกัดมูลนาย
๑.ไพร่หลวง หมายถึงไพร่ของหลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์ พวกนี้กระจายอยู่ตามกรมกองต่าง ๆ มีเจ้ากรมและข้าราชการกรมต่าง ๆ ดูแลต่างพระเนตรพระกรรณ สมัยรัชกาลที่ ๑ ไพร่หลวงเข้ารับราชการปีละ ๔ เดือนคือเข้าเดือน ออก ๒ เดือน สมัยรัชกาลที่ ๒ รับราชการ ๓ เดือนต่อปีหรือเข้าเดือนออก ๓ เดือนใช้มาจนสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นระยะของการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ต้นรัชกาลไพร่หลวงจึงเข้ามารับราชการปีละหนึ่งเดือน พ.ศ. ๒๔๒๕ จึงได้เริ่มมีการปลดปล่อยไพร่และทาส
๒.ไพร่สม เป็นกำลังคนส่วนใหญ่ของมูลนาย มักเรียกรวม ๆ กันว่า ข้าหรือข้าเจ้า บ่าวขุนนาง สมัยต้นรัตนโกสินทร์ไพร่สมต้องรับใช้มูลนายของตนและต้องรับใช้ข้าราชการ โดยการมาให้แรงงานปีละ ๑ เดือน หากไม่ไป จะต้องเสียเงินให้ราชการหนึ่งตำลึงสองบาท (๖ บาท)
ไพร่ สมเป็นเสมือน สมบัติของมูลนาย ที่จะใช้งานส่วนตัวได้โดยไม่ระบุเวลาใช้งานที่แน่นอน เเต่ไม่ใช่สมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกเมื่อมูลนายถึงแก่กรรม ไพร่สมจะถูกโอนเป็นไพร่หลวง แต่ความเป็นจริงมักปรากฏว่าทายาทของมูลนายเดิมหรือมูลนายอื่นจะถือโอกาสขอ ตัวไพร่สมนั้นไว้ พระมหากษัตริย์มักจะพระราชทานให้ตามที่ขอ สมัยรัชกาลที่ ๑ กฎหมายยังให้สิทธิแก่ไพร่สมฟ้องร้องมูลนายของตนได้ ถ้าไม่ได้รับความเป็นธรรม ถ้าชนะความจะพ้นจากความเป็นไพร่สมไปเป็นไพร่หลวง นอกจากนั้นถ้านายทำผิดแล้วต้องโทษ ไพร่สมของมูลนายคนนี้จะถูกโอนเป็นไพร่หลวงแยกไปสังกัดกรมกองต่าง ๆ มีมูลนายใหม่ควบคุม
๓. ไพร่ส่วย หมายถึงไพร่ที่ไม่ต้องทำงานให้รัฐ แต่ส่งส่วยให้เป็นการตอบแทนการส่งส่วยมีทั้งส่งเป็นรายปีและส่วยเกณฑ์กรณี พิเศษ เช่น เรียกเกณฑ์ให้ตัดไม้มาใช้ในการสร้างพระเมรุ ขุดหาแร่ทองแดงมาหล่อพระพุทธรูป ฯลฯ บางครั้งอาจเรียกเกณฑ์แรงงานไพร่ส่วยได้เป็นกรณีพิเศษ โดยทางการจัดหาเสบียงอาหารให้ด้วย
ไพร ส่วยนี้ที่จริงแล้วคือไพร่หลวงที่ ไม่สะดวกในการเข้ารับราชการหรือทางการไม่ต้องการแรงงานเพราะไม่สามารถหางาน ให้คนทั่วราชอาณาจักรทำได้ อีก ทั้งต้องการส่วยสิ่งของเพื่อไปค้าสำเภาด้วย จึงกำหนดให้ส่งส่วยแทน
ข้า พระโยมสงฆ์ จัดเป็นไพร่ส่วยด้วย อยู่ภายใต้การควบคุมของเจ้ากรม ปลัดกรมและสมุหบัญชีเช่นเดียวกับไพร่กองอื่น ๆ ต่างกันที่เป็นของฝ่ายพทุธจักร เพราะทางการได้หักกำลังคนส่วนนี้ออกจากกรมกองเดิม พ้นจากหน้าที่ที่ทำอยู่เดิมแล้วมอบให้วัดเพื่อให้แรงงานโดยตรง พวกนี้มีหน้าที่ทำงานให้วัดและช่วยวัดอื่นๆ ด้วย สมัยรัชกาลที่ ๔ ข้าพระโยมสงฆ์ส่วนหนึ่งต้องทำส่วยส่งรัฐเป็นรายปีด้วย
ทาส คือ พลเมืองอีกกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยสมัยต้นรัตนโกสินทร์ แต่เป็นพลเมืองที่มีสถานะเหมือนทรัพย์สินส่วนตัวของนายเงิน การโอนหรือขายต่อเป็นสิทธิของนายเงิน ทาสจึงต่างจากไพร่ตรงจุดนี้ กฎหมายยังรับรองสิทธิของนายเงินที่มีเหนือทาส ขณะเดียวกันก็มีกฎหมายให้ความคุ้มครองทาสด้วย ทาสสมัยรัตนโกสินทร์มีสภาพเช่นเดียวกับทาสสมัยกรุงศรีอยุธยาดังได้กล่าวมา แล้ว